วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พันธุ์โค

พันธุ์โคนม

1.พันธุ์โฮลสตน์ฟรีเชียน หรือพันธุ์ขาว - ดำ (Holstein - Friesian)




เป็นโคนมพันธุ์ที่กรมปศุสัตว์ได้คัดเลือกให้เป็นพันธุ์หลักในการปรับปรุงพันธุ์โคนมของประเทศ โคพันธุ์นี้


มีถิ่นกำเนิดในประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งอยู่ในทวีปยุโรป



สำหรับโคพันธุ์นี้ในทวีปยุโรปมักนิยมเรียกว่าพันธุ์ฟรีเชี่ยน

(Friesian) ซึ่งชื่อนี้สอดคล้องกับเมืองฟรีแลนด์

(Friesland) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเนเธอร์แลนด

์ แต่ในทวีปอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะประเทศ

สหรัฐอเมริกา และ แคนาดา เรียกโคนมพันธุ์นี้ว่า

พันธุ์โฮลส์ไตน์ (Holstein) ซึ่งคาดว่าเรียกตามชื่อรัฐ

Holstein ซึ่งอยู่ในประเทศเยอรมัน แต่สำหรับประเทศ

ไทยรวมทั้งหลาย ๆ ประเทศได้มีการนำเข้าน้ำเชื้อ

และตัวโคจากประเทศในยุโรป, สหรัฐอเมริกา และ

แคนาดาจึงมีการเรียกโคพันธุ์นี้รวมว่าพันธุ์โฮลส์ไตน์

ฟรีเชี่ยน (Holstein Friesian) โคพันธุ์นี้มีขนาด

ใหญ่เพศผู้หนัก 800 – 1,000 กิโลกรัม เพศเมียน้ำหนัก

500 – 800 กิโลกรัม ผลิตน้ำนมเฉลี่ย 6,000 – 7,000

กิโลกรัม ต่อ ระยะการให้นม มีนิสัยค่อนข้างเชื่อง

รีดนมง่ายไม่เตะ หรือ อั้นน้ำนม





โคนมพันธุ์โฮลส์ไตน์ ส่วนใหญ่มีสีขาวดำ โดยสีขาว หรือ ดำ จะมากหรือน้อยกว่าก็ได้ จึงมักเรียกชื่อ

ง่ายๆ ว่าโคนมพันธุ์ขาวดำ (Black & White Holstein) แต่จริง ๆ แล้วโคนมพันธุ์โฮลส์ไตน์ ยังมีสีขาวแดง

อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมักเรียกว่า Red & White Holstein แต่ลักษณะสีขาวดำเป็นลักษณะยีนเด่น (Dominant Gene)

ส่วนลักษณะสีขาวแดงเป็นยีนด้อย (Recessive Gene) ซึ่งเมื่อใช้น้ำเชื้อขาวดำ ผสมกับ แม่โคขาวแดง ลูกที่ได้



สมมุติชื่อ จารุณี จะเป็นสีขาวดำอย่างเดียว แต่ก็มียีนขาวแดงซ่อนอยู่ ต่อมาถ้าใช้น้ำเชื้อจากพ่อขาวแดงมาผสมกับแม่โค

จารุณี ลูกที่ได้ก็มีโอกาสที่จะได้ทั้งสีขาวแดง หรือ สีขาวดำ ขึ้นกับโอกาสที่ไข่และน้ำเชื้อสีขาวดำ หรือ สีขาวแดง

จะมาผสมกัน



ง่ายๆ ว่าโคนมพันธุ์ขาวดำ (Black & White

Holstein) แต่จริง ๆ แล้วโคนมพันธุ์โฮลส์ไตน์

ยังมีสีขาวแดงอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมักเรียกว่า Red &

White Holstein แต่ลักษณะสีขาวดำเป็นลักษณะ

ยีนเด่น (Dominant Gene) ส่วนลักษณะ

สีขาวแดงเป็นยีนด้อย (Recessive Gene)

ซึ่งเมื่อใช้น้ำเชื้อขาวดำ ผสมกับ แม่โคขาวแดง



ลูกที่ได้สมมุติชื่อ จารุณี จะเป็นสีขาวดำอย่างเดียว

แต่ก็มียีนขาวแดงซ่อนอยู่ ต่อมาถ้าใช้น้ำเชื้อจาก



พ่อขาวแดงมาผสมกับแม่โคจารุณี ลูกที่ได้ก็มีโอกาส

ที่จะได้ทั้งสีขาวแดง หรือ สีขาวดำ ขึ้นกับโอกาสที่ไข่



และน้ำเชื้อสีขาวดำ หรือ สีขาวแดงจะมาผสมกัน







2.พันธุ์เรดเดน (Red Dane)
 
 
 
 
มีกำเนิดในประเทศเดนมาร์คและเลี้ยงกันมาก แต่ไม่ปรากฏวาแพร่หลายในประเทศอื่นๆ เป็นโคที่จัดอยู่ใน


ชั้นเดียวกับโคโฮลสไตน์แต่การให้นมจะไม่ดีเท่าโคโฮลสไตน์นอกจากจะให้นมมากแล้วยังให้เนื้อด้วย จัดเป็นโคกึ่ง

กึ่งนมเป็นโคขนาดใหญ่โดยทั่วไปลูกผสมของโคพันธุ์นี้ส่วนใหญ่จะมีสีดำ โครงสร้าง



ดีตัวโต และให้นมมากพอสมควร ลักษณะที่ดีของโคพันธุ์นี้คือ ให้นมค่อน ข้างมาก



ให้นมติดต่อกันเป็นเวลานาน รูปร่างใหญ่ตัวผู้นำไปขุนเป็นโค เนื้อได้ดี ผสมกับโคพันธุ์



อื่นดีให้ลูกโครงร่างสวย แข็งแรง ตัวผู้หนัก 950 กก. ตัวเมียหนัก 600 กก. มีสีแดง



เลือดหมูทั้งตัว ตัวผู้จะมีสีเข้มขึ้น อาจจะมีจุดขาวในบางแห่งของร่างกาย ขนอ่อนนุ่ม



ผิวหนังหลวม หัวค่อยข้างยาว เข่ายื่นไปข้างหน้าและโค้งลง จมูกมีสีกระดานชะนวน



หลังเรียบตรง บั้นท้ายยาว โคนหางนูน ลำตัวลึกมีซี่โครงกว้าง เต้านมมีขนาดงามแต่



ค่อนข้างหลวม โคเรดเดนโตช้า ในขณะกำลังให้นมจะไม่อ้วนและแสดงลักษณะโคนม



เต็มที่แต่เมื่อหยุดให้นมจะอ้วนและมีเนื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ให้นมเฉลี่ย 4,500 กก.



ไขมันนม 4.2 เปอร์เซ็นต์ จากการเลี้ยงดูในประเทศไทยโคเรดเดมีการจ็บป่วยมากกว่า



โคอื่น ๆ แต่ลูกผสมที่เกิดจากแม่พื้นเมืองก็อยู่ได้ดีและให้นมดีพอควร





 
 
3.พันธุ์บราวสวิส (Brown Swiss)
 
 
มีถิ่นกำเนิดในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นโคขนาดใหญ่ มีโครงร่างและกระดูกใหญ่ ลำคอหนา มีสีทั่วๆ ไป




เป็นสีน้ำตาลเข้ม บริเวณปลายจมูกมีสีน้ำตาลอ่อนๆ แกมเหลือง ส่วนจมูก ลิ้น และพู่หางจะมีสีดำ ลักษณะที่เป็นข้อดี



ได้แก่ มีขนาดใหญ่ รูปร่างดีโครงสร้างแข็งแรง กระดูกใหญ่ ให้น้ำนม



มาก ไขมันสูง ทนร้อนได้ดี ลักษณะที่เป็นข้อเสียเปรียบ คือเจริญเติบโต



เต็มวัยช้า ทำให้ผู้เลี้ยงรอเวลานานกว่าจะได้รีดนม ตัวผู้มีน้ำหนัก 800-



1,000กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 600-700 กิโลกรัม โคพันธุ์นี้



มีนิสัยเชื่องเลี้ยงง่าย ให้น้ำนมดีพอสมควรคือให้นมเฉลี่ย 4,500



กิโลกรัม ต่อระยะการให้นม น้ำนมมีไขมันร้อยละ 4.0 ระยะการให้นม



ของโคบราวน์สวิสค่อนข้างนาน บางตัวให้นมดีอยู่ได้นานถึงอายุ 12



ปี ข้อดีของโคพันธุ์นี้คือ มีความทนทานต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีกว่า



โคยุโรปพันธุ์อื่นๆ





ถึงแม้โคพันธุ์บราวน์สวิสจะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์



แต่กลับได้รับความนิยมเลี้ยงเป็นโคนมชั้นดีในสหรัฐอเมริกา เนื่องจาก



ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้มีรูปร่างเป็นแบบโคนมมากขึ้น และให้นมดี



ขึ้นกว่าในเขตแหล่งกำเนิด โคพันธุ์นี้นำเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทยเมื่อ



พ.ศ. 2498 จากอเมริกา และพ.ศ. 2500 จากสวิตเซอร์แลนด์ ส่วน



ใหญ่นำมาผสมกับพันธุ์พื้นเมือง








4.พันธุ์เจอร์ซี่ (Jersey)
 
 


เป็นโคขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดในเกาะเจอร์ซี่ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ในช่องแคบอังกฤษ เป็นโคที่มีรูปร่างสวยงาม




มากและมีสัดส่วนถูกต้องตามแบบฉบับของโคนมที่ดีโคตัวเมียมีเต้า



นมที่มีขนาดใหญ่ รูปเต้านมสมบูรณ์เกาะแน่นอยู่กับพื้นท้อง โคเจอร์ซี่



ให้นมได้ไม่มากนักแต่นมมีไขมันสูง นิยมเลี้ยงกันทั่วไปโดยเฉพาะ



ในถิ่นที่มีการรีดนมสำหรับทำเนย โคเจอร์ซี่เป็นโคพันธุ์แท้มาเป็นเวลา



นานเพราะในเกาะเจอร์ซี่เลี้ยงแต่โคพันธุ์นี้เพียงพันธ์เดียวไม่มีโคอื่น



เข้าไปปะปน ลักษณะของโคพันธุ์นี้จึงสม่ำเสมอมาก โคตัวเมียหนัก



ประมาณ 350 - 450 กก. ตัวผู้หนัก 500 -600 กก. สีของโคมีสี



เหลืองปนน้ำตาลหรือสีเทาปนเหลืองหรือสีเทาปนน้ำตาลจนไปถึง





เกือบดำบางตัวอาจมีจุดขาวปนอยู่บางตัวอาจมีสีเดียวเป็นพื้นก็ได้



ตัวผู้จะมีสีดำมากขึ้น ลิ้นจมูกและพู่หางอาจจะมีสีดำหรือขาวก็ได้



ลักษณะและส่วนสัดทั่วไปของโคเจอร์ซี่ดูเรียบร้อยและแนบเนียนไป



ทั้งหมด แนวหลังตรงละบั้นท้ายค่อนข้างยาวเต้านมและหัวนมได้



ขนาดงาม โคเจอร์ซี่เติบโตเป็นสาวเร็วกว่าโคพันธุ์อื่น ๆ ถ้าเลี้ยงดูดีจะ



ผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 15 เดือน และให้ลูกท้องแรกเมื่ออายุ 24 เดือน



การให้นมของโคเจอร์ซี่เฉลี่ย 3,438 กก. ต่อระยะให้นม 10 เดือน



โคบางตัวอาจจะให้นมมากกว่า 10,000 กก.นมมีไขมัน 5.26



เปอร์เซ็นต์





 
 
 
5.พันธุ์เรดซินดี (Red Sindhi)
 


มีถิ่นกำเหนิดในเมืองการาจี และไฮเดอราบัด ในปากีสถาน ลักษณะทั่ว ไปมีสีแดงอ่อน ถึงแดงเข้มอาจมีจุดหรือ




รอยด่างที่เหนียงคอ และหน้าผาก หูยาวปานกลาง หูหักพับลง พื้นหน้าท้องและเหนียง



คอหย่อนยาน มาก หัวนมมีขนาดใหญ่ และมีตะโพกนิสัยตื่นตกใจง่าย แต่วัวพันธุ์นี้มี



ความสามารถทนโรคแมลงและอากาศร้อนได้ดีมาก เป็นโคขนาดเล็ก เพศผู้หนักประ



มาณ 450 กก. เพศเมียหนักประมาณ 350 กก. ให้นมเฉลี่ย 1,500 - 2,000 กก. ต่อ



ระยะการให้นม เริ่มให้นมช้าประมาณ 3 ปีขึ้นไป ทนอากาศร้อนได้ดี กินอาหารขณะ



แดดจัดได้ มีข้อเสียคือมีเต้านมรูปกรวย หัวนมรวมเป็นกระจุก รีดนมยาก และหัวนม





ใหญ่เกินไป ต้องใช้ลูกกระตุ้นเร่งให้แม่โคปล่อยนม ถ้าแยกลูกเด็ดขาดแม่โคมักจะหยุดนมเร็ว





 
 
 
6.พันธุ์ซาฮิวาล (Sahiwal)
 


มีถิ่นกำเนิดในประเทศปากีสถานและอินเดีย มีรูปร่างคล้ายพันธุ์เรด ซินดิ แต่มีขนาดใหญ่กว่าและให้นม






มากกว่า ตัวผู้มีน้ำหนักประมาณ 500-600

กิโลกรัม ตัวเมียมีน้ำหนักประมาณ 400-450



กิโลกรัม โคพันธุ์ซาฮิวาลมีลำตัวยาวและลึก



มีสีแดงและมีแต้มสีน้ำตาลและขาวอยู่ทั่วไป



มีเขาสั้น เหนียงคอหย่อนยานมีตะโหนกใหญ่



และมักจะเอียง เพราะมีน้ำหนักมากให้นมเฉลี่ย



2,500-3,000 กิโลกรัมต่อระยะการให้นม



ไขมันในนมร้อยละ 4.3 ให้ลูกตัวแรกเมื่ออายุ



ประมาณ 3 ปีมีคุณสมบัติเด่น คือ การทนร้อน



ทนโรคและแมลงในเขตร้อน เลี้ยงง่ายทนต่อ



สภาพขาดแคลนอาหาร สามารถปรับตัวอยู่ได้



ในสภาพการเลี้ยงที่มีอาหารหยาบคุณภาพต่ำ



ได้ดี







 
 
พันธุ์โคนมที่เลี้ยงในประเทศไทย
 
 
1.พันธุ์ไทยฟรีเชียน (Thai Friesian)
 


เกษตรกรทั่วไปมักเรียกว่า “ โคเลือดสูง ” หมายถึงโคนมลูกผสมที่มีเลือดโคนมพันธุ์โฮลส์ไตน์ฟรีเชี่ยน


มากกว่า 75 % ปัจจุบันเกษตรกรเลี้ยงกันมากใน

จังหวัดสระบุรี, นครราชสีมา, ลพบุรี และราชบุรี

รวมทั้งจังหวัดอื่นๆ โคพันธุ์นี้ให้ผลผลิตน้ำนม

ค่อนข้างสูง จากข้อมูลสำหรับฟาร์มที่มีการจัดการ

ด้านอาหารอย่างเหมาะสมให้ผลผลิตน้ำนมเฉลี่ย

ประมาณ 4,000 – 5,000 กิโลกรัม ต่อระยะการ

ให้นม หรือผลผลิตน้ำนมในระยะให้นมสูง (peak)

หลังคลอดไม่ต่ำกว่า 15 กิโลกรัม โคพันธุ์นี้เหมาะ

สำหรับเกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคนม

มาแล้วสำหรับในส่วนของกรมปศุสัตว์ได้มีการเลี้ยง

โคนมพันธุ์ไทยฟรีเชี่ยน ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์

ุ์สัตว์เชียงใหม่, ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุราษฎร์



ธานี, ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวาง, สถานี



วิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ปากช่อง, สถานีวิจัยทดสอบ

พันธุ์สัตว์สกลนคร, สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว

์สระแก้ว










2.พันธุ์ ที เอ็ม แซด (Thai Milking Zebu)
 
 


เกษตรกรทั่วไปมักเรียกว่า “โคเลือด 75 ” หมายถึง โคนมลูกผสมที่มีเลือดโคนมพันธุ์โฮลส์ไตน์ฟรีเชี่ยน


75 % ส่วนสายเลือดที่เหลือ 25 % เป็นโคพันธุ์ซีบู โคพันธุ์นี้เหมาะสำหรับเกษตรกรรายใหม่ กลุ่มที่ได้มี ีการผสมพันธุ์และคัดเลือกแล้วให้ผลผลิตน้ำนมเฉลี่ย

ประมาณ3,000 – 4,000 กิโลกรัม ต่อระยะการให้นม

ในส่วนของกรมปศุสัตว์ได้มีการเลี้ยงและศึกษาโคนม



พันธุ์นี้ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ลำพญากลาง

จังหวัดนครราชสีมา








3.พันธุ์โฮลสตน์ฟรีเชียน หรือพันธุ์ขาว - ดำ (Holstein - Friesian)





เป็นโคนมพันธุ์ที่กรมปศุสัตว์ได้คัดเลือกให้เป็นพันธุ์หลักในการปรับปรุงพันธุ์โคนมของประเทศ โคพันธุ์นี้


มีถิ่นกำเนิดในประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งอยู่ในทวีปยุโรป



สำหรับโคพันธุ์นี้ในทวีปยุโรปมักนิยมเรียกว่าพันธุ์ฟรีเชี่ยน

(Friesian) ซึ่งชื่อนี้สอดคล้องกับเมืองฟรีแลนด์

(Friesland) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเนเธอร์แลนด

์ แต่ในทวีปอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะประเทศ

สหรัฐอเมริกา และ แคนาดา เรียกโคนมพันธุ์นี้ว่า

พันธุ์โฮลส์ไตน์ (Holstein) ซึ่งคาดว่าเรียกตามชื่อรัฐ

Holstein ซึ่งอยู่ในประเทศเยอรมัน แต่สำหรับประเทศ

ไทยรวมทั้งหลาย ๆ ประเทศได้มีการนำเข้าน้ำเชื้อ

และตัวโคจากประเทศในยุโรป, สหรัฐอเมริกา และ

แคนาดาจึงมีการเรียกโคพันธุ์นี้รวมว่าพันธุ์โฮลส์ไตน์

ฟรีเชี่ยน (Holstein Friesian) โคพันธุ์นี้มีขนาด

ใหญ่เพศผู้หนัก 800 – 1,000 กิโลกรัม เพศเมียน้ำหนัก

500 – 800 กิโลกรัม ผลิตน้ำนมเฉลี่ย 6,000 – 7,000

กิโลกรัม ต่อ ระยะการให้นม มีนิสัยค่อนข้างเชื่อง

รีดนมง่ายไม่เตะ หรือ อั้นน้ำนม





โคนมพันธุ์โฮลส์ไตน์ ส่วนใหญ่มีสีขาวดำ โดยสีขาว หรือ ดำ จะมากหรือน้อยกว่าก็ได้ จึงมักเรียกชื่อ

ง่ายๆ ว่าโคนมพันธุ์ขาวดำ (Black & White Holstein) แต่จริง ๆ แล้วโคนมพันธุ์โฮลส์ไตน์ ยังมีสีขาวแดง

อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมักเรียกว่า Red & White Holstein แต่ลักษณะสีขาวดำเป็นลักษณะยีนเด่น (Dominant Gene)

ส่วนลักษณะสีขาวแดงเป็นยีนด้อย (Recessive Gene) ซึ่งเมื่อใช้น้ำเชื้อขาวดำ ผสมกับ แม่โคขาวแดง ลูกที่ได้



สมมุติชื่อ จารุณี จะเป็นสีขาวดำอย่างเดียว แต่ก็มียีนขาวแดงซ่อนอยู่ ต่อมาถ้าใช้น้ำเชื้อจากพ่อขาวแดงมาผสมกับแม่โค

จารุณี ลูกที่ได้ก็มีโอกาสที่จะได้ทั้งสีขาวแดง หรือ สีขาวดำ ขึ้นกับโอกาสที่ไข่และน้ำเชื้อสีขาวดำ หรือ สีขาวแดง

จะมาผสมกัน



ง่ายๆ ว่าโคนมพันธุ์ขาวดำ (Black & White

Holstein) แต่จริง ๆ แล้วโคนมพันธุ์โฮลส์ไตน์

ยังมีสีขาวแดงอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมักเรียกว่า Red &

White Holstein แต่ลักษณะสีขาวดำเป็นลักษณะ

ยีนเด่น (Dominant Gene) ส่วนลักษณะ

สีขาวแดงเป็นยีนด้อย (Recessive Gene)

ซึ่งเมื่อใช้น้ำเชื้อขาวดำ ผสมกับ แม่โคขาวแดง



ลูกที่ได้สมมุติชื่อ จารุณี จะเป็นสีขาวดำอย่างเดียว

แต่ก็มียีนขาวแดงซ่อนอยู่ ต่อมาถ้าใช้น้ำเชื้อจาก



พ่อขาวแดงมาผสมกับแม่โคจารุณี ลูกที่ได้ก็มีโอกาส

ที่จะได้ทั้งสีขาวแดง หรือ สีขาวดำ ขึ้นกับโอกาสที่ไข่



และน้ำเชื้อสีขาวดำ หรือ สีขาวแดงจะมาผสมกัน








แหล่งอ้างอิง:http://www.dld.go.th/dairy/improve_dairy/breed/breed.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น