วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สัตว์เลื้อยคลาน (Reptiles)




กรีนอีกัวน่า สัตวเลื้อนคลาน






Green Iguana

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Iguana iguana



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ สีเขียว หัวโตมีหนามแหลมคล้ายหวีอยู่แนวกลางของลำตัว ซึ่งหนามนี้จะเห็นได้ชัดที่สุด ตั้งแต่ตรงคอไปถึงหาง บริเวณลำคอมีปุ่มกลมขนาดใหญ่ ใต้คอมีเหนียงขรุขระขนาดใหญ่ ตัวผู้ตัวโต มีหัวโตและมีแผงหนามชัดเจนกว่าตัวเมีย





ถิ่นอาศัย, อาหาร

มีถิ่นอาศัยอยู่ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้

กรีนอีกัวน่ากินแมลง พืชผักเป็นอาหาร



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอยู่ในป่าร้อนชื้น ชอบไต่ไปตามกิ่งไม้หรือขอนไม้ บางครั้งไต่ได้อย่างรวดเร็วไปตามพุ่มไม้และอาจลงน้ำได้เป็นบางครั้ง เมื่อยังเล็กจะกินเฉพาะแมลง แต่พอโตเต็มวัยแล้วจะกินพืชเป็นหลัก

กรีนอีกัวน่าวางไข่ครั้งละ 20-40 ฟอง ต่อ ครั้ง ระยะฟักไข่นาน 10-15 สัปดาห์



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา















งูเขียวดอกหมาก(งูเขียวพระอินทร์) สัตวเลื้อนคลาน






Golden Tree Snake

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Chrysopelea ornata



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นงูบก หัวกลม ว่องไวปราดเปรียว เลื้อยเร็ว ลำตัวสีเขียวอ่อน มีลายดำตลอดตัว หัวมีลายมากจนดูคล้ายกับมีหัวสีดำ ใต้คางสีขาว ใต้ท้องสีเขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อน ๆ ใต้หางมีลายดำเป็นจุด ๆ





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในบริเวณพื้นที่ที่มีความสูงมากกว่า 550 เมตร ในประเทศไทย จีน อินเดีย ศรีลังกา พม่า อินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์

งูเขียวดอกหมากกิน กิ้งก่า จิ้งจก ลูกนก หนู งูที่เล็กกว่าบางชนิด และแมลงต่าง ๆ บางครั้งหาอาหารกินไม่ได้ก็ใช้วิธีบังคับแย่งอาหารกินจากตุ๊กแก จนเข้าใจกันผิด ๆ ว่างูเขียวกินตับตุ๊กแก แต่ที่จริงแล้วงูเขียวใช้วิธีรัดตัวตุ๊กแกบังคับให้อ้าปาก แล้วแย่งกินเศษเนื้อเศษแมลงที่ติดอยู่ตามซอกในปากและฟัน ไม่ใช่ล้วงเข้าไปกินตับตุ๊กแก ถ้าตุ๊กแกตัวไม่โตนักก็จะกลืนกินตุ๊กแกทั้งตัวเลย



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

งูเขียวดอกหมากชอบอาศัยอยู่ตามซอกมุมบ้าน ซุ้มไม้ โพรงไม้ ออกหากินในเวลากลางวัน

ออกลูกเป็นไข่ ครั้งละ 6-12 ฟอง



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต












งูเขียวหางไหม้ สัตวเลื้อนคลาน






Green Pit Viper

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Trimeresurus sp.



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

งูเขียวหางไหม้มีหลายชนิด หัวยาวมนใหญ่ คอเล็ก ตัวอ้วนสั้น ปลายหางมีสีแดงชัดเจน ลำตัวมีสีเขียวอมเหลืองสด บางตัวมีสีเขียวอมน้ำเงิน หางสีแดงสด บางตัวมีหางสีแดงคล้ำเกือบเป็นสีน้ำตาล เป็นงูพิษอ่อน เมื่อถูกกัดจะปวดมาก บวมอยู่หลายวัน แต่ไม่ถึงกับเสียชีวิต นอกจากว่ามีโรคแทรก





ถิ่นอาศัย, อาหาร

มีชุกชุมในจังหวัดภาคกลาง เช่น กรุงเทพฯ นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี ปทุมธานี อยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี และชลบุรี นอกจากประเทศไทยแล้วยังพบใน อินเดีย จีน พม่า ศรีลังกา

งูเขียวหางไหม้กินลูกกิ้งก่า จิ้งจก ตุ๊กแก ลูกนก แมลง หนู กบ เขียด



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ปกติเลื้อยช้า ๆ ไม่รวดเร็ว ดุและ ฉกกัดเมื่อเข้าใกล้ ชอบอาศัยตามซอกชายคา ตามกองไม้ กระถางต้นไม้ กอหญ้า ออกหากินในเวลากลางคืนทั้งบนต้นไม้ และตามพื้นดินที่มีหญ้ารก ๆ ขณะเกาะนอนบนกิ่งไม้ มันจะใช้ลำตัวและหางรัดพันยึดกับกิ่งไม้ไว้

งูเขียวหางไหม้ออกลูกเป็นตัวครั้งละประมาณ 8-12 ตัว แต่ก็มีงูเขียวหางไหม้บางชนิดเหมือนกันที่ออกลูกเป็นไข่

สถานภาพปัจจุบัน



สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์นครราชสีมา











งูงวงช้าง สัตวเลื้อนคลาน






Elephant-trunk Snake

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Acrochordus javanicus



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

งูงวงช้างมีหัวเล็กแบน ลำตัวอ้วนสั้น ตัวนิ่ม หนังย่นและเป็นปุ่ม ๆ ถ้าอยู่พ้นน้ำจะมีสีเหลืองนวล แต่ถ้าอยู่ในน้ำจะมีสีน้ำตาลดำ





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในไทย มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย

งูงวงช้างกินปลาและสัตว์น้ำบางชนิด และมักออกหากินตอนกลางคืน



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอยู่ตามท้องร่อง คลอง แม่น้ำ หนองบึงทั่วไป โดยปกติแล้วแข็งแรงว่องไวเมื่ออยู่ในน้ำ เมื่อจับมาไว้บนบกจะนิ่งเหมือนตายไม่เลื้อยไปไหน เป็นงูไม่ดุ และไม่มีพิษ ชอบหากินในน้ำ เมื่อจับสัตว์เช่นปลาได้ เมื่อปลาดิ้นมันก็จะใช้หางไชโคลนลงไป หรือไขว่คว้าหาที่ยึดเกาะ เป็นงูที่อยู่ในน้ำจึงเลื้อยไม่เก่งบนบก แต่ว่ายน้ำด้วยความชำนาญ

งูงวงช้างออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 25-30 ตัว ลูกที่เกิดใหม่มีความยาวประมาณ 29 เซนติเมตร ซึ่งสามารถกินอาหารได้เลย

สถานภาพปัจจุบัน


สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต



 
 
 



งูจงอาง สัตวเลื้อนคลาน






King Cobra

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Ophiophagus hannah



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นงูพิษที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก หัวกลมทู่ใหญ่ แผ่แม่เบี้ยได้ ไม่มีลายดอกจันอย่างงูเห่า แต่ทำเสียงขู่คล้ายงูเห่า ลำตัวเรียวยาว เป็นงูสีน้ำตาลแดงอมเขียวเป็นส่วนมาก สีอื่นมีบ้าง ท้องของงูจงอางเหลืองเกือบขาว ใต้คอมักมีสีแดงหรือส้ม





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในไทย อินเดีย พม่า อินโดจีน มาเลเซีย สำหรับประเทศไทยมีมากในป่าจังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และนครราชศรีมา

งูจงอางชอบกินงูเป็นๆ มาก นอกจากนี้มี หนู กบ ตะกวด



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

เป็นงูที่มีนิสัยดุ ปกติเลื้อยช้า แต่ว่องไวปราดเปรียวเมื่อตกใจ จะชูคอขึ้นสูงแค่เอวประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว แผ่แม่เบี้ย ขู่ฟ่อ ๆ เมื่อเข้าใกล้ มักอาศัยอยู่ในป่า ปกติไม่ปรากฏพบตามเรือกสวนไร่นา เป็นงูที่รู้จักทำรังวางไข่ งูจงอางมีพฤติกรรมการกัดแบบติดแน่น ไม่กัดฉกเหมือนงูเห่า พิษงูจงอางจะทำลายประสาทเหมือนพิษงูเห่า แต่เกิดอาการเร็วและรุนแรงกว่า เนื่องจากมีน้ำพิษปริมาณมาก (มีตัวโตกว่างูเห่า)

งูจงอางวางไข่ปีละครั้ง ประมาณ 20-40 ฟอง ชอบทำรังในกอไผ่ งูจงอางจะกก และฟักไข่เอง



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา



 
 
 






จระเข้นํ้าเค็ม สัตวเลื้อนคลาน





Saltwater Crocodile(Indo-Pacific Crocodile)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Crocodylus porosus



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ลักษณะของหัวยาวเพรียว ไม่มีเกล็ดท้ายทอย 4 เกล็ดให้เห็น ขาหลังมีพังผืดยึดนิ้วทั้ง 5 ซึ่งเห็นได้ชัดเจน และพังผืดยาวจรดปลายนิ้ว มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาจระเข้ ตัวใหญ่ที่สุดที่เคยพบยาว 7 เมตร





ถิ่นอาศัย, อาหาร

อาศัยอยู่ตั้งแต่ฝั่งทะเลตะวันออกของอินเดีย ถึง ฟิลลิปินส์ และทางเหนือของออสเตรเลีย ทางใต้ของไทยและมาเลเซีย

โดยปกติแล้วลูกจระเข้น้ำเค็มกินปลา แมลง ปู กบ ส่วนตัวที่โตเต็มวัยจะกินสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น หมู รวมทั้งคนก็กินได้



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

มีนิสัยดุร้ายมาก กินคนเป็นอาหารได้ อาศัยอยู่ในที่ลุ่ม หนอง บึง และแม่น้ำที่ไม่มีบ้านเรือนตั้งอยู่

จระเข้พันธุ์น้ำเค็มจะเริ่มไข่ได้เมื่ออายุ 12 - 15 ปี มีความต้องการสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากจระเข้น้ำจืด ตั้งแต่ต้องการบ่อที่กว้างกว่า ในบางครั้งต้องการน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม ผสมพันธุ์ในฤดูหนาว ผสมพันธุ์ปีละครั้ง ออกไข่ในหลุมดินในช่วงฤดูร้อนหรือต้นฤดูฝน ฟักไข่ในหลุมดินประมาณ 11 สัปดาห์ วางไข่ครั้งละ 60 - 80 ฟอง



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา














จระเข้นํ้าจืด สัตวเลื้อนคลาน






Siamese Crocodile

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Crocodylus siamensis



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

จระเข้น้ำจืดตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียมีขนาดยาวประมาณ 12 ฟุต แต่ตัวผู้มีหางยาวกว่าตัวเมีย และมักมีจำนวนเกล็ดที่ห่างมากกว่า จระเข้น้ำจืดหัวทู่สั้นกว่าจระเข้น้ำเค็ม มีเกล็ดท้ายท้อย 4 เกล็ดเรียงให้เห็นชัด เท้าหลังมีพังผืดเล็กน้อย หางจระเข้มีกำลังมากใช้โบกพัดไปมาช่วยในการว่ายน้ำ หรือเป็นอาวุธ สามารถฟาดหางทำให้คนหรือสัตว์ได้รับอันตรายได้ ปกติไม่ได้ใช้ขาในการว่ายน้ำ





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในเอเชียแถบประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย และประเทศไทย

จระเข้น้ำจืดกินสัตว์ที่มีขนาดกลาง เช่น ปลา กบ นก รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ถ้าอาหารมีขนาดใหญ่มันจะคาบอาหารแล้วเหวี่ยงไปมาทำให้อาหารขาดออกเป็นชิ้น ๆ อาหารจะถูกย่อยอย่างช้า ๆ ทำให้ไม่ต้องกินอาหารประมาณ 15-30 วัน หลังจากนั้นจึงกินอีกครั้งหนึ่ง



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอยู่ตัวเดียว ตามแหล่งน้ำนิ่งซึ่งมีความลึกไม่เกิน 5 ฟุต และมีที่ร่ม ในช่วงอากาศร้อนจะแช่ตัวในน้ำ ถ้าอากาศหนาวจะขึ้นมาผึ่งแดดบนบกในตอนกลางวัน

จระเข้น้ำจืดมักผสมพันธุ์กันในฤดูหนาวซึ่งในระยะนี้ตัวผู้จะต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงเป็นเจ้าของตัวเมีย การผสมพันธุ์มีปีละครั้ง จระเข้น้ำจืดเริ่มวางไข่โดยตัวเมียจะขุดดินที่อยู่ใกล้น้ำที่เป็นดินทรายกว้าง 40-50 เซ็นติเมตร แล้วออกไข่ประมาณ 20-40 ฟอง เมื่อวางไข่เสร็จแล้ว จระเข้จะกวาดใบไม้รอบ ๆ หลุมไข่มารวมพูนกองบนรังไข่เพื่อป้องกันฝน จากระยะออกไข่จนฟักเป็นตัว ระยะนี้จระเข้จะดุร้ายมาก ศัตรูตามธรรมชาติของไข่จระเข้น้ำจืดนอกจากคนแล้วก็มี เหี้ย ตะกวด ชะมด อีเห็น ซึ่งมาลักไข่ของมันไปกิน เมื่อฟักไข่ครบกำหนดแล้วจระเข้ตัวอ่อน ๆ ก็จะเจาะเปลือกไข่ออกมาเอง



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา














ตะกวด(แลน) สัตวเลื้อนคลาน






Clouded Monitor(Bengal Monitor)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Varanus bengalensis



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

พื้นตัวเป็นสีเทาเหลืองหรือน้ำตาลเทา เกล็ดเป็นสีเหลืองหรือเป็นจุด ๆ เมื่อมองผ่าน ๆ จึงดูตัวเป็นสีเหลือง





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งอินเดียและพม่า

ตะกวดกินไก่ นก ปลา กบ เขียด หนู กินได้ทั้งของสดและของเน่า



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ไม่ดุเท่าเหี้ย ชอบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ แต่ว่ายน้ำและดำน้ำไม่เก่งเท่าเหี้ย ปกติชอบอยู่ใกล้น้ำเช่นเดียวกัน แต่บางทีอาจพบได้ตามป่าโปร่งและเนินเขาไกลจากลำน้ำ

ตะกวดจะโตเต็มที่เมื่อมีอายุ 3 ปี วางไข่ครั้งละ 20 ฟองในฤดูฝน ฟักออกเป็นตัวง่าย ออกไข่ในหลุมดิน เช่นเดียวกับเหี้ย



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต



 
 



เต่าจักร สัตวเลื้อนคลาน






Spiny Terrapin

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Heosemys spinosa



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นเต่าน้ำจืดขนาดเล็ก กระดองหลังค่อนข้างแบน เกล็ดกระดองหลังนูนเป็นสันอยู่กลางหลัง เกล็ดที่ขอบกระดองเป็นหนามแหลมรอบตัว คล้ายจักรและจะหาย เมื่อโตเต็มวัยจะมีกระดองหลังโดยวัดจากเกล็ดเหนือต้นคอ พาดตามแนวกลางของความยาวกระดองหลังมาจรดที่ปลายเกล็ดเหนือโคนหางยาวประมาณ 20 เซนติเมตร





ถิ่นอาศัย, อาหาร

เต่าจักรถูกจัดอยู่ในกลุ่มเต่าน้ำจืดในประเทศไทยพบเต่าจักร เฉพาะในจังหวัดภาคใต้ นอกนั้นพบในมาเลเซีย สุมาตราและบอร์เนียว

อาหารของเต่าจักรได้แก่ พืช ผลไม้ ลูกไม้และซากสัตว์



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์



เต่าจักรมีการขยายเผ่าพันทางธรรมชาติน้อยมาก



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว










เหี้ย,เหี้ยลายดอก(ตัวเงิน ตัวทอง) สัตวเลื้อนคลาน






Water Monitor

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Varanus salvator



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ตัวสีดำ ลิ้นสีม่วงปลายแฉก มีลายดอกสีขาวหรือเหลืองเป็นแถวพาดขวางตัว หางเป็นปล้องสีดำสลับกับเหลืองอ่อน หนังหยาบเป็นเกล็ด ลำตัวมีขนาดใหญ่กว่าสัตว์อื่นในจำพวกเดียวกัน แต่เล็กกว่ามังกรโคโมโด





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งอินเดียและศรีลังกา ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค

เหี้ยไม่เลือกอาหาร กินทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ สัตว์ปีก เช่น ไก่ นก ปลา กบ เขียด หนู กินได้ทั้งของสดและของเน่า



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ดุ ใช้หางเป็นอาวุธฟาดศัตรูแล้วใช้ปากกัด ชอบอยู่ใกล้น้ำว่ายน้ำ ดำน้ำเก่ง และขึ้นต้นไม้เก่งด้วย

เหี้ยวางไข่ครั้งละ 15-30 ฟอง ขุดหลุมหรือทำโพรงเป็นที่วางไข่ ไม่ฟักไข่ คือพ่อแม่ไม่ต้องกกไข่ ลูกฟักตัวออกมาเองจากไข่โดยธรรมชาติ เมื่อลูกออกมาจากไข่แล้วก็หากินเอง เปลือกไข่นิ่มแต่เหนียว



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์นครราชสีมา

 
 
 
 
 
แหล่งอ้างอิง:http://www.moohin.com/animals/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น