วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พันธุ์กระต่าย



เนเธอร์แลนด์ดวอฟ Netherland Dwarf ในปี ค.ศ. 1948 หรือ พ.ศ. 2491 ถือได้ว่าเป็นยุคเริ่มต้น ของกระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟ เนื่องจากกระต่ายสายพันธุ์นี้ได้ถูกนำเข้าไปยังสหราชอาณาจักรอังกฤษ โดย นักพัฒนาสายพันธุ์กระต่าย และในปี ค.ศ. 1969 หรือ พ.ศ. 2512 กระต่ายสายพันธุ์นี้ ได้รับความนิยมใน สหรัฐ อเมริกา จนได้รับการยอมรับจากสมาคมนักพัฒนาพันธุ์กระต่ายแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ ARBA โดยมีการปรับปรุง ข้อกำหนด ของรายละเอียดมาตรฐานสายพันธุ์จาก ของสภากระต่ายแห่งสหราชอาณาจักรเพียงนิดหน่อยเท่านั้น


น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ในอุดมคติคือ 0.9 กิโลกรัม กระต่ายสายพันธุ์ เนเธอร์แลนด์ดวอฟเป็นกระต่ายที่จัดได้ว่า มีสีให้เลือก ได้มาก ที่สุดในบรรดากระต่ายสายพันธุ์ต่างๆ ทั้งหมดที่มี คือ สามารถแบ่งได้ เป็น 5 กลุ่มสี และมีสีหรือลักษณะสีย่อยๆ อีกกว่า 24 สี สีตาม มาตรฐานที่สมาคมพัฒนาพันธุ์ กระต่ายแห่ง สหรัฐอเมริกา หรือ ARBA กำหนดให้มีการประกวด ในกระต่ายสายพันธุ์ เนเธอร์แลนด์ ดวอฟ มีกลุ่มสีถึง 5 กลุ่มสี คือ กลุ่มสีพื้น (Self Varieties) กลุ่มสีเฉด (Shaded Varieties) กลุ่มสีขนอะกูติ (Agouti Varieties) กลุ่มแทน หรือกลุ่มมีสร้อย (Tan Varieties) กลุ่มสร้อยทอง (Otter) กลุ่มสร้อยเงิน (Silver Marten) กลุ่มสร้อยนาค (Tans)สี ทองแดงสร้อยเงิน (Sable Marten) สีเทาควันบุหรี่สร้อยเงิน (Smoke Pearl Marten)









อเมริกันฟัซซี่ลอป American Fuzzy Lop ต้นกำเนิดของอเมริกันฟัซซี่ลอป มาจากการ ผ่าเหล่า ของฮอลแลนด์ลอป หรืออีกกระแสหนึ่งเล่าว่า กระต่ายสายพันธุ์นี้เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ ระหว่าง ฮอลแลนด์ลอปที่ลักษณะขนเป็นแบบอังโกร่า ในกลุ่มนักพัฒนาสายพันธุ์กระต่าย ทางฝากตะวันตก ของ สหรัฐอเมริกา จากนั้นก็ถูกขายไปยังฝั่งตะวันออก ลูกที่เกิดมาก็ยังมีขนที่ยาวเหมือนอังโกร่า เมื่อผสมลูกเหล่านี้ รุ่นหลาน ก็ยังปรากฏเป็นกระต่ายหูตกขนยาวอยู่ตลอดมา


เป็นกระต่ายขนาดเล็ก (Compact Type) จัดอยู่ในกลุ่มกระต่ายแคระ มีลักษณะเด่นคือ มีหูตกสวยงามและมีขนที่ยาวสลวย ลักษณะ เด่นอื่นๆของสายพันธุ์กระต่ายหูตกอเมริกันฟัซซี่ลอป ก็คือ มีลำตัวสั้น กะทัดรัด หัวมีลักษณะกลม ขนาดใหญ่หนา และกว้างจากฐาน ของหูทั้งสองข้าง หูที่หนา และแบน หูยิ่งสั้นยิ่งถือว่ามีลักษณะที่ดี เพราะว่าเป็นการแสดงถึงลักษณะ ของกระต่ายแคระ หูจะต้องตก แนบข้างแก้ม หัวโตใหญ่ ต่อติดกับหัวไหล่เหมือนไม่มีคอ หัวและหูปกคลุมด้วยขนธรรมดา ที่ไม่ใช่ขนยาว ขนที่หน้า สามารถตัดแต่ง ได้ตามความเหมาะสมและสวยงาม ขาหลังมีขนธรรมดา ฝ่าเท้าหนาและหนัก สายพันธุ์ที่ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ เมื่อเติบโตเต็มที่ แล้ว น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ในอุดมคติคือ 1.6 กิโลกรัม (สำหรับตัวผู้) และ 1.7 กิโลกรัม (ในตัวเมีย) กระต่ายสายพันธุ์ อเมริกันฟัซซี่ลอป มีกลุ่มสีถึง 6 กลุ่มสี ได้แก่ กลุ่มสีพื้น (Self Group) กลุ่มสีขนอะกูติ (Agouti Group)กลุ่มสีเฉด (Shaded Group)กลุ่มสีขาวมีแปดแต้ม (Pointed White Group) กลุ่มขาวลายแต้มสีต่างๆ (Broken Group) กลุ่มสีอื่นๆ (Wide Band Group)

 
 
 
 
 
 
 



ฮอลแลนด์ ลอป Holland Lop เป็นการผสมพันธุ์กระต่ายเฟรนช์ลอป กับ กระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟ กระต่ายต้นแบบฮอลแลนด์ลอปได้ถือกำเนิดมาที่น้ำหนักประมาณ 2.5 ถึง 3 กิโลกรัม ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1964 หรือ พ.ศ. 2507 กระต่ายแคระหูตกฮอลแลนด์ ก็ได้รับการรับรอง มาตรฐานสายพันธุ์ จากสภากระต่าย แห่งประเทศ เนเธอร์แลนด์ ที่น้ำหนักตัวน้อยกว่าสองกิโลกรัม


กระต่ายสายพันธุ์ฮอลแลนด์ลอปจัดว่าเป็นกระต่ายกลุ่มหูตกที่มีขนาดเล็กที่สุด เพราะว่าเมื่อดูจากประวัติของสายพันธุ์ ก็มาจาก กระต่ายแคระเนเธอร์แลนด์ดวอฟ กระต่ายสายพันธุ์นี้ มีลักษณะเด่นที่หัวกลมโต แลดูน่ารักเหมือนตุ๊กตา มีน้ำหนักน้อยและลำตัวสั้น ซึ่งแตกต่างจากกระต่ายโดยทั่วไป จึงทำให้เป็นกระต่ายที่เป็นที่นิยมเลี้ยงกันในขณะนี้ กระต่ายฮอลแลนด์ลอป มีสีมากมาย หลาก หลายสี จนสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มสีต่างๆ ได้มากถึง 7 กลุ่มสี ได้แก่ กลุ่มอะกูติ (Agouti) กลุ่มสีขาวแต้ม (Broken)กลุ่มสีขาว มีมาร์กกิ้งแปดแต้ม (Pointed White) กลุ่มสีพื้น (Self) กลุ่มสีเฉด (Shaded) กลุ่มสีพิเศษ (Ticked) และกลุ่มสีอื่นๆ (Wide Band)

 
 
 
 
 
วิธีการเลี้ยงกระต่าย วิธีการเลี้ยงกระต่ายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับการเลี้ยงและพัฒนาพันธุ์กระต่าย ถ้าเราอยากให้ กระต่ายของเราสมบูรณ์ แข็งแรง น่ารัก เราก็ต้องมาทำความเข้าใจกับธรรมชาติของกระต่ายเสียก่อน ว่าเค้าชอบอะไรไม่ชอบอะไร อะไรทานได้ อะไรทานไม่ได้ เราถึงจะได้ดูแลเค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อาหารสำเร็จรูป หญ้า ผัก ผลไม้และน้ำ รวมถึงวิธีการให้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เลี้ยงจะต้องรู้เป็นอย่างดี ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้กระต่ายมีความสุขและมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ น้ำเป็นโภชนาการ ที่สำคัญที่สุด น้ำที่สะอาด และเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เลี้ยงจะละเลยไม่ได้ จึงแนะนำว่าควรเปลี่ยนน้ำเช้า-เย็น นอกจากนี้ อาทิตย์หนึ่งๆ ควรมีสักวันหยดวิตามินรวม น้ำสีแดงๆ ให้กระต่ายสัก 2-3 หยด ต่อน้ำครึ่งลิตร เพื่อให้กระต่ายได้รับ วิตามิน บางตัว ที่ไม่มีในอาหาร เช่นวิตามินบี ซีและเค การผสมวิตามินลงในน้ำ สามารถช่วยลดอาการเครียด และเป็นผลดีต่อกระต่ายแม่พันธุ์ ที่ผสม ติดต่อกัน หลายครอก น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระต่ายและโดยเฉพาะในกระต่ายขน น้ำจะช่วยให้ขนกระต่าย มีคุณภาพ ที่ดี จำไว้ว่าลิ้นของกระต่ายค่อนข้างไวต่อรสชาติของน้ำที่เปลี่ยนไป และในบางครั้งเค้าอาจจะไม่ยอมดื่มน้ำที่แปลกกว่าที่เคยทาน แม้ว่าจะเป็นช่วงระยะเวลาอันสั้น ที่กระต่ายขาดหรือไม่ยอมทานน้ำ แต่สิ่งนี้อาจจะส่งผลให้เกิด เมตาโบลิซึมของการสร้างขน ที่เปลี่ยน แปลงไป ซึ่งอาจจะทำให้ขนกระต่ายพันกันได้ อาหารเม็ดสำเร็จรูปที่มีสารอาหารครบถ้วนและสัดส่วนพอเหมาะ เป็นสิ่งจำเป็นต่อ การเจริญเติบโตและสุขภาพของกระต่าย กระต่ายทั่วไปมีความต้องการโปรตีน 14-17 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2-4 เปอร์เซ็นต์ และไฟเบอร์ อย่างน้อย 16 เปอร์เซ็นต์ โดยทั่วไปอาหารเม็ดสำเร็จรูปตามท้องตลาดมักจะมีอัตราส่วนอย่างพอเหมาะอยู่แล้ว และยังมีสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นเช่น วิตามินและเกลือแร่ แต่ผู้เลี้ยงสามารถผสมหรือให้ผักผลไม้อื่นๆเพิ่มเติมอีกได้ โดยสามารถให้อาหารกระต่ายทุก 12 ชั่วโมง แต่เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ฉะนั้นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการให้อาหารคือในช่วงเช้าตรู่และตอนหัวค่ำ กระต่ายเล็กอายุน้อยกว่า 3 เดือนควรจะได้รับอาหารเม็ดอย่างพอเพียง อาหารเม็ดใหม่ๆและเปลี่ยนทุกวัน เช้าเย็น ควรจะมีไว้ตลอด อย่าให้ขาด เมื่อกระต่ายอายุมากขึ้น การจำกัดอาหารตามปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะปัญหาหลักของการ ให้อาหาร กระต่ายก็คือการให้อาหารมากเกินไป ถ้าเราให้อาหารเค้ามากเกินไป กระต่ายจะอ้วนและไม่แข็งแรง ซึ่งจะส่งผลโดยตรง กับการผสมพันธุ์ติดยาก เพราะฉะนั้น แม้ว่ากระต่ายจะทานอาหารทั้งหมดที่ท่านให้ แต่ก็ต้องจำกัดอาหารอย่างเคร่งครัด สูตรง่ายๆ ของการให้อาหารเม็ด คือ ให้อาหาร 50 กรัมต่อน้ำหนักกระต่าย 1 กิโลกรัม ต่อวัน สำหรับผักที่เหมาะสำหรับกระต่าย มีหลายอย่างเช่น ใบกะเพรา (ป้องกันกระต่ายท้องอืด) ผักกาดหอม ถัวฝักยาว และผักบุ้งไทย ส่วนผักบุ้งจีนไม่สมควรให้เพราะว่ามียางเยอะ ซึ่งอาจจะ ทำให้ กระต่ายท้องเสียได้ มีข้อสังเกตง่ายๆ ผักสีเขียวเข้มทานได้ ผักสีเขียวอ่อนควรหลีกเลี่ยง อาหารเสริม เช่น ข้าวโอ๊ต เมล็ดทานตะวัน (ช่วยบำรุงขน) โดยเฉพาะข้าวเปลือก ซึ่งมีวิตามินบี เพื่อช่วยให้พ่อพันธุ์สมบูรณ์พันธุ์ก่อนผสม


โรคต่างๆของกระต่าย

โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากโรค ต่างๆ ที่ผู้เลี้ยงนั้น ขาดความรู้และ ประสบการณ์ อาจจะไม่ได้ศึกษาถึงปัญหาต่างๆ สำหรับ การเลี้ยง กระต่ายมา โดยผู้เลี้ยง ทุกๆท่านควรที่จะ รู้ ถึงโรคต่างๆ หรือ สาเหตุต่างๆที่ทำใ้ห้เกิดโรค ทั้งนี้เพื่อป้องกัน และ ลดปัญหา การตาย ของกระต่ายได้ โรคของกระต่ายนั้นมีสาเหตุการเกิดที่หลายอย่าง อาจจะเกิดจาก เชื่อต่างๆเช่น เชื่้อไวรัส แบคทีเรีย เิกิดจากเชื้อรา เกิดจากตัวปรสิต หรือแม้กระทั้งที่เกิดจาก การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทางกรรมพันธุ์

การสังเกต ดูว่ากระต่ายเรานั้นเป็นโรคหรือไม่

ผู้เลี้ยงควรที่จะรู้จักกระต่าย ทั้ง ลักษณะร่างกาย ลักษณะ ทางธรรมชาติ โดยปกติ ของเขา เพราะเมื่อไหร่ที่ เขามีความผิดปกติ ไม่ว่า จะเป็น ทางร่างกายด้านภายนอก ร่างกาย หรือ ทางด้านภายใน ทั้งนี้ก็เพื่อที่เรา จะสามารถหาทางแก้ไขป้องกัน หรือ รักษาได้ทัน โดยปกติ กระต่ายที่มีสุขภาพที่ดีจะต้องอ้วนและมีเนื้อเต็มทุกส่วน ไม่มีแผล เม็ด หรือ ตุ่ม เกิดขึ้นบริเวณร่างกาย ขนต้องฟูตามธรรมชาติ หรือ ไม่หลุดเป็นก้อนๆ หย่อมๆ ซึ่งกระต่ายอาจจะมีขนหลุดร่วงบ้าง สำหรับการผลัด ขนของกระต่าย แต่ไม่ควรที่จะร่วงมากจนผิดปกติ ดวงตา ของกระต่ายนั้นจะต้องสดใส ร่าเริง น้ำหนักตัวต้องไม่ลด เพราะว่ากระต่ายที่ เป็นโรค มักจะมีน้ำหนักตัวที่ลดลงเรื่อยๆ และ ผอมลงเรื่อยๆ และ เบื่ออาหาร เป็นหนอง หรือ มีน้ำมูกที่บริเวณจมูก






แหล่งอ้างอิง:http://www.ecarddesignanimation.com/home/rabbit.php

พันธุ์โค

พันธุ์โคนม

1.พันธุ์โฮลสตน์ฟรีเชียน หรือพันธุ์ขาว - ดำ (Holstein - Friesian)




เป็นโคนมพันธุ์ที่กรมปศุสัตว์ได้คัดเลือกให้เป็นพันธุ์หลักในการปรับปรุงพันธุ์โคนมของประเทศ โคพันธุ์นี้


มีถิ่นกำเนิดในประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งอยู่ในทวีปยุโรป



สำหรับโคพันธุ์นี้ในทวีปยุโรปมักนิยมเรียกว่าพันธุ์ฟรีเชี่ยน

(Friesian) ซึ่งชื่อนี้สอดคล้องกับเมืองฟรีแลนด์

(Friesland) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเนเธอร์แลนด

์ แต่ในทวีปอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะประเทศ

สหรัฐอเมริกา และ แคนาดา เรียกโคนมพันธุ์นี้ว่า

พันธุ์โฮลส์ไตน์ (Holstein) ซึ่งคาดว่าเรียกตามชื่อรัฐ

Holstein ซึ่งอยู่ในประเทศเยอรมัน แต่สำหรับประเทศ

ไทยรวมทั้งหลาย ๆ ประเทศได้มีการนำเข้าน้ำเชื้อ

และตัวโคจากประเทศในยุโรป, สหรัฐอเมริกา และ

แคนาดาจึงมีการเรียกโคพันธุ์นี้รวมว่าพันธุ์โฮลส์ไตน์

ฟรีเชี่ยน (Holstein Friesian) โคพันธุ์นี้มีขนาด

ใหญ่เพศผู้หนัก 800 – 1,000 กิโลกรัม เพศเมียน้ำหนัก

500 – 800 กิโลกรัม ผลิตน้ำนมเฉลี่ย 6,000 – 7,000

กิโลกรัม ต่อ ระยะการให้นม มีนิสัยค่อนข้างเชื่อง

รีดนมง่ายไม่เตะ หรือ อั้นน้ำนม





โคนมพันธุ์โฮลส์ไตน์ ส่วนใหญ่มีสีขาวดำ โดยสีขาว หรือ ดำ จะมากหรือน้อยกว่าก็ได้ จึงมักเรียกชื่อ

ง่ายๆ ว่าโคนมพันธุ์ขาวดำ (Black & White Holstein) แต่จริง ๆ แล้วโคนมพันธุ์โฮลส์ไตน์ ยังมีสีขาวแดง

อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมักเรียกว่า Red & White Holstein แต่ลักษณะสีขาวดำเป็นลักษณะยีนเด่น (Dominant Gene)

ส่วนลักษณะสีขาวแดงเป็นยีนด้อย (Recessive Gene) ซึ่งเมื่อใช้น้ำเชื้อขาวดำ ผสมกับ แม่โคขาวแดง ลูกที่ได้



สมมุติชื่อ จารุณี จะเป็นสีขาวดำอย่างเดียว แต่ก็มียีนขาวแดงซ่อนอยู่ ต่อมาถ้าใช้น้ำเชื้อจากพ่อขาวแดงมาผสมกับแม่โค

จารุณี ลูกที่ได้ก็มีโอกาสที่จะได้ทั้งสีขาวแดง หรือ สีขาวดำ ขึ้นกับโอกาสที่ไข่และน้ำเชื้อสีขาวดำ หรือ สีขาวแดง

จะมาผสมกัน



ง่ายๆ ว่าโคนมพันธุ์ขาวดำ (Black & White

Holstein) แต่จริง ๆ แล้วโคนมพันธุ์โฮลส์ไตน์

ยังมีสีขาวแดงอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมักเรียกว่า Red &

White Holstein แต่ลักษณะสีขาวดำเป็นลักษณะ

ยีนเด่น (Dominant Gene) ส่วนลักษณะ

สีขาวแดงเป็นยีนด้อย (Recessive Gene)

ซึ่งเมื่อใช้น้ำเชื้อขาวดำ ผสมกับ แม่โคขาวแดง



ลูกที่ได้สมมุติชื่อ จารุณี จะเป็นสีขาวดำอย่างเดียว

แต่ก็มียีนขาวแดงซ่อนอยู่ ต่อมาถ้าใช้น้ำเชื้อจาก



พ่อขาวแดงมาผสมกับแม่โคจารุณี ลูกที่ได้ก็มีโอกาส

ที่จะได้ทั้งสีขาวแดง หรือ สีขาวดำ ขึ้นกับโอกาสที่ไข่



และน้ำเชื้อสีขาวดำ หรือ สีขาวแดงจะมาผสมกัน







2.พันธุ์เรดเดน (Red Dane)
 
 
 
 
มีกำเนิดในประเทศเดนมาร์คและเลี้ยงกันมาก แต่ไม่ปรากฏวาแพร่หลายในประเทศอื่นๆ เป็นโคที่จัดอยู่ใน


ชั้นเดียวกับโคโฮลสไตน์แต่การให้นมจะไม่ดีเท่าโคโฮลสไตน์นอกจากจะให้นมมากแล้วยังให้เนื้อด้วย จัดเป็นโคกึ่ง

กึ่งนมเป็นโคขนาดใหญ่โดยทั่วไปลูกผสมของโคพันธุ์นี้ส่วนใหญ่จะมีสีดำ โครงสร้าง



ดีตัวโต และให้นมมากพอสมควร ลักษณะที่ดีของโคพันธุ์นี้คือ ให้นมค่อน ข้างมาก



ให้นมติดต่อกันเป็นเวลานาน รูปร่างใหญ่ตัวผู้นำไปขุนเป็นโค เนื้อได้ดี ผสมกับโคพันธุ์



อื่นดีให้ลูกโครงร่างสวย แข็งแรง ตัวผู้หนัก 950 กก. ตัวเมียหนัก 600 กก. มีสีแดง



เลือดหมูทั้งตัว ตัวผู้จะมีสีเข้มขึ้น อาจจะมีจุดขาวในบางแห่งของร่างกาย ขนอ่อนนุ่ม



ผิวหนังหลวม หัวค่อยข้างยาว เข่ายื่นไปข้างหน้าและโค้งลง จมูกมีสีกระดานชะนวน



หลังเรียบตรง บั้นท้ายยาว โคนหางนูน ลำตัวลึกมีซี่โครงกว้าง เต้านมมีขนาดงามแต่



ค่อนข้างหลวม โคเรดเดนโตช้า ในขณะกำลังให้นมจะไม่อ้วนและแสดงลักษณะโคนม



เต็มที่แต่เมื่อหยุดให้นมจะอ้วนและมีเนื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ให้นมเฉลี่ย 4,500 กก.



ไขมันนม 4.2 เปอร์เซ็นต์ จากการเลี้ยงดูในประเทศไทยโคเรดเดมีการจ็บป่วยมากกว่า



โคอื่น ๆ แต่ลูกผสมที่เกิดจากแม่พื้นเมืองก็อยู่ได้ดีและให้นมดีพอควร





 
 
3.พันธุ์บราวสวิส (Brown Swiss)
 
 
มีถิ่นกำเนิดในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นโคขนาดใหญ่ มีโครงร่างและกระดูกใหญ่ ลำคอหนา มีสีทั่วๆ ไป




เป็นสีน้ำตาลเข้ม บริเวณปลายจมูกมีสีน้ำตาลอ่อนๆ แกมเหลือง ส่วนจมูก ลิ้น และพู่หางจะมีสีดำ ลักษณะที่เป็นข้อดี



ได้แก่ มีขนาดใหญ่ รูปร่างดีโครงสร้างแข็งแรง กระดูกใหญ่ ให้น้ำนม



มาก ไขมันสูง ทนร้อนได้ดี ลักษณะที่เป็นข้อเสียเปรียบ คือเจริญเติบโต



เต็มวัยช้า ทำให้ผู้เลี้ยงรอเวลานานกว่าจะได้รีดนม ตัวผู้มีน้ำหนัก 800-



1,000กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 600-700 กิโลกรัม โคพันธุ์นี้



มีนิสัยเชื่องเลี้ยงง่าย ให้น้ำนมดีพอสมควรคือให้นมเฉลี่ย 4,500



กิโลกรัม ต่อระยะการให้นม น้ำนมมีไขมันร้อยละ 4.0 ระยะการให้นม



ของโคบราวน์สวิสค่อนข้างนาน บางตัวให้นมดีอยู่ได้นานถึงอายุ 12



ปี ข้อดีของโคพันธุ์นี้คือ มีความทนทานต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีกว่า



โคยุโรปพันธุ์อื่นๆ





ถึงแม้โคพันธุ์บราวน์สวิสจะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์



แต่กลับได้รับความนิยมเลี้ยงเป็นโคนมชั้นดีในสหรัฐอเมริกา เนื่องจาก



ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้มีรูปร่างเป็นแบบโคนมมากขึ้น และให้นมดี



ขึ้นกว่าในเขตแหล่งกำเนิด โคพันธุ์นี้นำเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทยเมื่อ



พ.ศ. 2498 จากอเมริกา และพ.ศ. 2500 จากสวิตเซอร์แลนด์ ส่วน



ใหญ่นำมาผสมกับพันธุ์พื้นเมือง








4.พันธุ์เจอร์ซี่ (Jersey)
 
 


เป็นโคขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดในเกาะเจอร์ซี่ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ในช่องแคบอังกฤษ เป็นโคที่มีรูปร่างสวยงาม




มากและมีสัดส่วนถูกต้องตามแบบฉบับของโคนมที่ดีโคตัวเมียมีเต้า



นมที่มีขนาดใหญ่ รูปเต้านมสมบูรณ์เกาะแน่นอยู่กับพื้นท้อง โคเจอร์ซี่



ให้นมได้ไม่มากนักแต่นมมีไขมันสูง นิยมเลี้ยงกันทั่วไปโดยเฉพาะ



ในถิ่นที่มีการรีดนมสำหรับทำเนย โคเจอร์ซี่เป็นโคพันธุ์แท้มาเป็นเวลา



นานเพราะในเกาะเจอร์ซี่เลี้ยงแต่โคพันธุ์นี้เพียงพันธ์เดียวไม่มีโคอื่น



เข้าไปปะปน ลักษณะของโคพันธุ์นี้จึงสม่ำเสมอมาก โคตัวเมียหนัก



ประมาณ 350 - 450 กก. ตัวผู้หนัก 500 -600 กก. สีของโคมีสี



เหลืองปนน้ำตาลหรือสีเทาปนเหลืองหรือสีเทาปนน้ำตาลจนไปถึง





เกือบดำบางตัวอาจมีจุดขาวปนอยู่บางตัวอาจมีสีเดียวเป็นพื้นก็ได้



ตัวผู้จะมีสีดำมากขึ้น ลิ้นจมูกและพู่หางอาจจะมีสีดำหรือขาวก็ได้



ลักษณะและส่วนสัดทั่วไปของโคเจอร์ซี่ดูเรียบร้อยและแนบเนียนไป



ทั้งหมด แนวหลังตรงละบั้นท้ายค่อนข้างยาวเต้านมและหัวนมได้



ขนาดงาม โคเจอร์ซี่เติบโตเป็นสาวเร็วกว่าโคพันธุ์อื่น ๆ ถ้าเลี้ยงดูดีจะ



ผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 15 เดือน และให้ลูกท้องแรกเมื่ออายุ 24 เดือน



การให้นมของโคเจอร์ซี่เฉลี่ย 3,438 กก. ต่อระยะให้นม 10 เดือน



โคบางตัวอาจจะให้นมมากกว่า 10,000 กก.นมมีไขมัน 5.26



เปอร์เซ็นต์





 
 
 
5.พันธุ์เรดซินดี (Red Sindhi)
 


มีถิ่นกำเหนิดในเมืองการาจี และไฮเดอราบัด ในปากีสถาน ลักษณะทั่ว ไปมีสีแดงอ่อน ถึงแดงเข้มอาจมีจุดหรือ




รอยด่างที่เหนียงคอ และหน้าผาก หูยาวปานกลาง หูหักพับลง พื้นหน้าท้องและเหนียง



คอหย่อนยาน มาก หัวนมมีขนาดใหญ่ และมีตะโพกนิสัยตื่นตกใจง่าย แต่วัวพันธุ์นี้มี



ความสามารถทนโรคแมลงและอากาศร้อนได้ดีมาก เป็นโคขนาดเล็ก เพศผู้หนักประ



มาณ 450 กก. เพศเมียหนักประมาณ 350 กก. ให้นมเฉลี่ย 1,500 - 2,000 กก. ต่อ



ระยะการให้นม เริ่มให้นมช้าประมาณ 3 ปีขึ้นไป ทนอากาศร้อนได้ดี กินอาหารขณะ



แดดจัดได้ มีข้อเสียคือมีเต้านมรูปกรวย หัวนมรวมเป็นกระจุก รีดนมยาก และหัวนม





ใหญ่เกินไป ต้องใช้ลูกกระตุ้นเร่งให้แม่โคปล่อยนม ถ้าแยกลูกเด็ดขาดแม่โคมักจะหยุดนมเร็ว





 
 
 
6.พันธุ์ซาฮิวาล (Sahiwal)
 


มีถิ่นกำเนิดในประเทศปากีสถานและอินเดีย มีรูปร่างคล้ายพันธุ์เรด ซินดิ แต่มีขนาดใหญ่กว่าและให้นม






มากกว่า ตัวผู้มีน้ำหนักประมาณ 500-600

กิโลกรัม ตัวเมียมีน้ำหนักประมาณ 400-450



กิโลกรัม โคพันธุ์ซาฮิวาลมีลำตัวยาวและลึก



มีสีแดงและมีแต้มสีน้ำตาลและขาวอยู่ทั่วไป



มีเขาสั้น เหนียงคอหย่อนยานมีตะโหนกใหญ่



และมักจะเอียง เพราะมีน้ำหนักมากให้นมเฉลี่ย



2,500-3,000 กิโลกรัมต่อระยะการให้นม



ไขมันในนมร้อยละ 4.3 ให้ลูกตัวแรกเมื่ออายุ



ประมาณ 3 ปีมีคุณสมบัติเด่น คือ การทนร้อน



ทนโรคและแมลงในเขตร้อน เลี้ยงง่ายทนต่อ



สภาพขาดแคลนอาหาร สามารถปรับตัวอยู่ได้



ในสภาพการเลี้ยงที่มีอาหารหยาบคุณภาพต่ำ



ได้ดี







 
 
พันธุ์โคนมที่เลี้ยงในประเทศไทย
 
 
1.พันธุ์ไทยฟรีเชียน (Thai Friesian)
 


เกษตรกรทั่วไปมักเรียกว่า “ โคเลือดสูง ” หมายถึงโคนมลูกผสมที่มีเลือดโคนมพันธุ์โฮลส์ไตน์ฟรีเชี่ยน


มากกว่า 75 % ปัจจุบันเกษตรกรเลี้ยงกันมากใน

จังหวัดสระบุรี, นครราชสีมา, ลพบุรี และราชบุรี

รวมทั้งจังหวัดอื่นๆ โคพันธุ์นี้ให้ผลผลิตน้ำนม

ค่อนข้างสูง จากข้อมูลสำหรับฟาร์มที่มีการจัดการ

ด้านอาหารอย่างเหมาะสมให้ผลผลิตน้ำนมเฉลี่ย

ประมาณ 4,000 – 5,000 กิโลกรัม ต่อระยะการ

ให้นม หรือผลผลิตน้ำนมในระยะให้นมสูง (peak)

หลังคลอดไม่ต่ำกว่า 15 กิโลกรัม โคพันธุ์นี้เหมาะ

สำหรับเกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคนม

มาแล้วสำหรับในส่วนของกรมปศุสัตว์ได้มีการเลี้ยง

โคนมพันธุ์ไทยฟรีเชี่ยน ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์

ุ์สัตว์เชียงใหม่, ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุราษฎร์



ธานี, ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวาง, สถานี



วิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ปากช่อง, สถานีวิจัยทดสอบ

พันธุ์สัตว์สกลนคร, สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว

์สระแก้ว










2.พันธุ์ ที เอ็ม แซด (Thai Milking Zebu)
 
 


เกษตรกรทั่วไปมักเรียกว่า “โคเลือด 75 ” หมายถึง โคนมลูกผสมที่มีเลือดโคนมพันธุ์โฮลส์ไตน์ฟรีเชี่ยน


75 % ส่วนสายเลือดที่เหลือ 25 % เป็นโคพันธุ์ซีบู โคพันธุ์นี้เหมาะสำหรับเกษตรกรรายใหม่ กลุ่มที่ได้มี ีการผสมพันธุ์และคัดเลือกแล้วให้ผลผลิตน้ำนมเฉลี่ย

ประมาณ3,000 – 4,000 กิโลกรัม ต่อระยะการให้นม

ในส่วนของกรมปศุสัตว์ได้มีการเลี้ยงและศึกษาโคนม



พันธุ์นี้ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ลำพญากลาง

จังหวัดนครราชสีมา








3.พันธุ์โฮลสตน์ฟรีเชียน หรือพันธุ์ขาว - ดำ (Holstein - Friesian)





เป็นโคนมพันธุ์ที่กรมปศุสัตว์ได้คัดเลือกให้เป็นพันธุ์หลักในการปรับปรุงพันธุ์โคนมของประเทศ โคพันธุ์นี้


มีถิ่นกำเนิดในประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งอยู่ในทวีปยุโรป



สำหรับโคพันธุ์นี้ในทวีปยุโรปมักนิยมเรียกว่าพันธุ์ฟรีเชี่ยน

(Friesian) ซึ่งชื่อนี้สอดคล้องกับเมืองฟรีแลนด์

(Friesland) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเนเธอร์แลนด

์ แต่ในทวีปอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะประเทศ

สหรัฐอเมริกา และ แคนาดา เรียกโคนมพันธุ์นี้ว่า

พันธุ์โฮลส์ไตน์ (Holstein) ซึ่งคาดว่าเรียกตามชื่อรัฐ

Holstein ซึ่งอยู่ในประเทศเยอรมัน แต่สำหรับประเทศ

ไทยรวมทั้งหลาย ๆ ประเทศได้มีการนำเข้าน้ำเชื้อ

และตัวโคจากประเทศในยุโรป, สหรัฐอเมริกา และ

แคนาดาจึงมีการเรียกโคพันธุ์นี้รวมว่าพันธุ์โฮลส์ไตน์

ฟรีเชี่ยน (Holstein Friesian) โคพันธุ์นี้มีขนาด

ใหญ่เพศผู้หนัก 800 – 1,000 กิโลกรัม เพศเมียน้ำหนัก

500 – 800 กิโลกรัม ผลิตน้ำนมเฉลี่ย 6,000 – 7,000

กิโลกรัม ต่อ ระยะการให้นม มีนิสัยค่อนข้างเชื่อง

รีดนมง่ายไม่เตะ หรือ อั้นน้ำนม





โคนมพันธุ์โฮลส์ไตน์ ส่วนใหญ่มีสีขาวดำ โดยสีขาว หรือ ดำ จะมากหรือน้อยกว่าก็ได้ จึงมักเรียกชื่อ

ง่ายๆ ว่าโคนมพันธุ์ขาวดำ (Black & White Holstein) แต่จริง ๆ แล้วโคนมพันธุ์โฮลส์ไตน์ ยังมีสีขาวแดง

อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมักเรียกว่า Red & White Holstein แต่ลักษณะสีขาวดำเป็นลักษณะยีนเด่น (Dominant Gene)

ส่วนลักษณะสีขาวแดงเป็นยีนด้อย (Recessive Gene) ซึ่งเมื่อใช้น้ำเชื้อขาวดำ ผสมกับ แม่โคขาวแดง ลูกที่ได้



สมมุติชื่อ จารุณี จะเป็นสีขาวดำอย่างเดียว แต่ก็มียีนขาวแดงซ่อนอยู่ ต่อมาถ้าใช้น้ำเชื้อจากพ่อขาวแดงมาผสมกับแม่โค

จารุณี ลูกที่ได้ก็มีโอกาสที่จะได้ทั้งสีขาวแดง หรือ สีขาวดำ ขึ้นกับโอกาสที่ไข่และน้ำเชื้อสีขาวดำ หรือ สีขาวแดง

จะมาผสมกัน



ง่ายๆ ว่าโคนมพันธุ์ขาวดำ (Black & White

Holstein) แต่จริง ๆ แล้วโคนมพันธุ์โฮลส์ไตน์

ยังมีสีขาวแดงอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมักเรียกว่า Red &

White Holstein แต่ลักษณะสีขาวดำเป็นลักษณะ

ยีนเด่น (Dominant Gene) ส่วนลักษณะ

สีขาวแดงเป็นยีนด้อย (Recessive Gene)

ซึ่งเมื่อใช้น้ำเชื้อขาวดำ ผสมกับ แม่โคขาวแดง



ลูกที่ได้สมมุติชื่อ จารุณี จะเป็นสีขาวดำอย่างเดียว

แต่ก็มียีนขาวแดงซ่อนอยู่ ต่อมาถ้าใช้น้ำเชื้อจาก



พ่อขาวแดงมาผสมกับแม่โคจารุณี ลูกที่ได้ก็มีโอกาส

ที่จะได้ทั้งสีขาวแดง หรือ สีขาวดำ ขึ้นกับโอกาสที่ไข่



และน้ำเชื้อสีขาวดำ หรือ สีขาวแดงจะมาผสมกัน








แหล่งอ้างอิง:http://www.dld.go.th/dairy/improve_dairy/breed/breed.html

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พันธุ์เป็ด




เป็ดดำหัวดำ






Baer's Pochard

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Aythya baeri



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ขนปลายปีกด้านนอกเป็นสีดำ ตัวผู้บริเวณหัวและลำคอมีสีดำเหลือบเขียว ตาสีขาวหรือแดง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเข้มออกดำ อกสีน้ำตาลเข้ม ท้องตอนหน้าสีขาวส่วนท้องตอนท้ายสีเทา ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีขาว สีข้างสีน้ำตาลแดงเห็นเป็นแถบ ๆ ตัวเมียต่างจากตัวผู้ตรงที่สีทึมกว่า อกสีน้ำตาลแดงเข้มกว่า หัวและลำคอสีน้ำตาลแกมดำ ตาสีน้ำตาล





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในรัสเซียด้านตะวันออก จีนด้านตะวันออก อินเดีย พม่า และไทย

เป็ดดำหัวดำหาอาหารด้วยการดำน้ำหรือว่ายน้ำ อาหาร ได้แก่ ปลา กุ้ง สัตว์น้ำ และพืชน้ำ



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ บางครั้งพบตามป่าชายเลน พบอยู่โดดเดี่ยวหรือฝูงเล็ก ๆ เป็ดดำหัวดำสามารถบินได้ดีและบินได้ไกล มันว่ายและดำน้ำได้ดีมาก เวลามีสิ่งรบกวนหรือมีภัยมันจะดำน้ำระยะหนึ่งและจึงบินขึ้นจากน้ำ มันหากินเวลากลางคืน ส่วนกลางวันมันจะใช้เวลาส่วนใหญ่พักผ่อนตามผิวน้ำ

ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ของเป็ดดำหัวดำในประเทศไทย



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่












เป็ดแดง







Lesser Whistling-DuckLesser Treeduck

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Dendrocygna javanica



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นนกขนาดกลาง ลำตัวยาวประมาณ 40 - 43 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ขนตามตัวและปีกมีสีน้ำตาลแดง บนกระหม่อมมีสีเข้มกว่าส่วนอื่น ขนตรงปลายปีกมีสีดำ ปากแบนกว้างสีเทาดำ คอยาว ปีกยาวปลายปีกแหลม





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน ไต้หวัน อินเดีย และในประเทศไทยพบได้ทั่วไปทุกภาค

อาหารได้แก่ พืชน้ำ สัตว์น้ำจำพวก ปลา กบ ไส้เดือน



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ตามปกติชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ตามแหล่งน้ำ เช่น บ่อ หนอง คลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ บางทีเป็นฝูงมากกว่า 1,000 ตัว ปกติหากินตอนกลางคืน ส่วนตอนกลางวันจะว่ายน้ำ หรือพักผ่อนนอนหลับ ตามต้นไม้ชายน้ำ

ในฤดูผสมพันธุ์เป็ดแดงมักอยู่เป็นคู่ ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน ทำรักตามกอกก ต้นอ้อ หรือหญ้าใกล้แหล่งน้ำ รังเป็นแบบง่ายๆ โดยใช้ใบพืชสร้างรัง แล้วใช้ขนท้องตัวเองรองกลางรัง วางไข่คราวละ 9 - 13 ฟอง ไข่สีขาวไม่มีลาย ใช้เวลาฟัก 29 - 31 วัน



สถานภาพปัจจุบัน

เป็ดแดงเป็นทั้งนกประจำถิ่น และนกอพยพมาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อยและปริมาณมากทั่วทุกภาค จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา











เป็ดเทาก้นดำ







Gadwall

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Anas strepera



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ปลายหางมน ตัวผู้และตัวเมียมีสีสันแตกต่างกัน ลำตัวด้านบนและด้านข้างของตัวผู้มีสีเทา แต่บริเวณกระหม่อมและคอด้านบนจะออกเป็นสีเทาเข้มกว่า ท้องสีขาว ก้นสีดำ ปากสีเทา ขาและนิ้วสีเหลือง ตัวเมียลำตัวเป็นลายสีน้ำตาล ท้องสีขาว ปากสีเทา ด้านข้างของปากสีเหลือง เวลาเกาะลอยน้ำจะเห็นแถบสีขาวบริเวณปีกชัดเจน





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา อินเดียตอนเหนือ และจีนตั้งแต่ตอนกลางประเทศลงมาจนถึงตอนเหนือของไทย

อาหารได้แก่ พืชและสัตว์น้ำ เช่น แหน ดีปลีน้ำ สาหร่าย ปลา กุ้ง ปู หอย



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ พบอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ และอาจอยู่รวมฝูงกับเป็ดน้ำอื่น เป็ดเทาก้นดำชอบลอยหรือว่ายน้ำอยู่ในบริเวณป่ากก ป่าหญ้าที่ขึ้นอยู่ในน้ำ บางครั้งก็ว่ายน้ำในบริเวณที่ไม่มีพืช

ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ของเป็ดเทาก้นดำในประเทศไทย



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว














เป็ดไบคาล






Baikal Teal

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Anas formosa



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ตัวผู้มีหน้าผากและกระหม่อมสีดำ และมีลายบนหน้า เป็นลักษณะเฉพาะโดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ บริเวณหัวตามาถึงคอหอยและบริเวณหูมาถึงคอหอย เป็นแถบสีเนื้อแกมเหลือง โดยมีเส้นกั้นบริเวณทั้งสองเป็นเส้นสีดำลากจากใต้ตาลงมาต่อกับคอหอยสีดำ ถัดมาทางส่วนหลังของใบหน้าหรือบริเวณจากหางตาไปท้ายทอย เป็นแถบโค้งสีเขียว มีขอบสีขาวรอบแถบโค้ง ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาล อกมีลายแต้มสีม่วง ลำตัวด้านข้างสีดำ ท้องสีขาว ตัวเมียลำตัวสีน้ำตาล มีลักษณะคล้ายเป็ดปีกเขียวตัวเมีย แต่มีขนาดใหญ่กว่า บริเวณโคนปากมีจุดกลมสีขาว ด้านข้างของหัวและคอหอยมีสีจาง กระหม่อมสีเข้มกว่า





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ อินเดีย จีน ฮ่องกง เกาะไหหลำ เกาะไต้หวัน ญี่ปุ่น และไทย

อาหารได้แก่ สาหร่าย ต้นอ่อนของหญ้า กก และพืชน้ำอื่น นอกจากนี้ยังกินเมล็ดหญ้า เมล็ดข้าว แมลง และสัตว์น้ำ



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ พบอยู่เป็นฝูง จะอยู่รวมฝูงกับนกเป็ดน้ำอื่น ปกติเป็ดไบคาลหากินด้วยการว่ายบนผิวน้ำในแหล่งน้ำที่ค่อนข้างตื้น ถ้าเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่และลึกมาก มันจะว่ายอยู่เฉพาะบริเวณขอบ หากินในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันจะพักผ่อน

เป็ดไบคาลผสมพันธุ์และวางไข่บริเวณทะเลสาบไบคาลในไซบีเรีย และบริเวณใกล้เคียง ในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์มันจะอพยพลงใต้ไปยังจีน ญี่ปุ่น สำหรับในประเทศไทยไม่มีการทำรังวางไข่



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา















เป็ดปากแดง






Red-crested Pochard

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Netty



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นนกขนาดกลาง มีความยาวลำตัวประมาณ 56 เซนติเมตร ตัวผู้ขอบปีกสีขาว ส่วนตัวเมียขอบปีกสีน้ำตาล ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มีปากสีแดงและมีหัวกลมใหญ่สีส้มถึงน้ำตาลแดง กระหม่อมสีน้ำตาลเหลือง คอสีดำ ลำตัวด้านล่างสีดำ สีข้างสีขาว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ สีสันทั่วไปคล้ายตัวเมียแต่ปากยังคงเป็นสีแดง ส่วนตัวเมียหัวครึ่งบนตั้งแต่บริเวณใต้ตาขึ้นไปถึงกระหม่อมมีสีน้ำตาลเข้ม ตัดกับสีขาวของแก้มและคอหอย ปากสีเทามีแถบสีแดงใกล้ปลายปาก ปลายปากสีดำ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ส่วนลำตัวด้านล่างสีจางกว่าด้านบนเล็กน้อย





ถิ่นอาศัย, อาหาร



อาหารได้แก่ สาหร่าย ต้นอ่อนของหญ้า กก และพืชน้ำอื่น นอกจากนี้ยังกินเมล็ดหญ้า เมล็ดข้าว แมลง และสัตว์น้ำ



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ เช่น บึง หนอง ทะเลสาบ เป็นต้น พบอยู่เป็นฝูง จะอยู่รวมฝูงกับนกเป็ดน้ำอื่น ปกติเป็ดปากแดงหากินด้วยการว่ายบนผิวน้ำในแหล่งน้ำลึก ถ้าเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่และลึกมากมันจะว่ายอยู่เฉพาะบริเวณขอบ ปกติเป็ดปากแดงจะตกใจง่าย เมื่อมีสิ่งรบกวนหรือได้ยินเสียงผิดปกติมันจะบินขึ้นเหนือน้ำทันที

ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ในประเทศไทย



สถานภาพปัจจุบัน

เป็ดปากแดงเป็นนกอพยพมาประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ หายากและปริมาณน้อยมาก พบเฉพาะภาคกลางบางแห่งเท่านั้น จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์นครราชสีมา












เป็ดปากสั้น







Eurasian Wigeon

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Anas penelope



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

มีปากสั้น หัวกลมใหญ่ และคอสั้น ปากสีเทาแกมน้ำเงิน ขาและนิ้วสีเทา ตัวผู้มีหัวสีน้ำตาลแดง กระหม่อมสีเนื้อ ขนบริเวณอื่นสีเทา คอและอกสีม่วงเข้ม ท้องสีขาว ต้นขามีลายสีขาว ขณะบินจะเห็นขนคลุมขนปีกสีขาวตัดกับขนปลายปีกสีเทาเข้มและแนวขนปีกสีเขียวอย่างชัดเจน ส่วนตัวเมียมีสีน้ำตาลแดง มีจุดและลายเล็กน้อย ท้องสีขาวชัดเจนกว่าตัวเมียของเป็ดน้ำอื่น ขณะบินจะเห็นขนคลุมขนปีกสีเทาตัดกับปีกส่วนอื่นซึ่งมีสีเข้มกว่าอย่างชัดเจน





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในในทวีปยุโรป ตอนเหนือของทวีปแอฟริกา ตอนเหนือของทวีปเอเชีย อินเดีย จีน เกาะไหหลำ เกาะไต้หวัน เกาะบอร์เนียว ฟิลิปปินส์ และเกาะนิวกินี เป็นนกอพยพในไทยพบกระจายทั่วทุกภาคยกเว้นภาคใต้ แต่มีจำนวนน้อยและพบได้ยาก

อาหารได้แก่ สัตว์น้ำและพืชน้ำ เช่น ปลา กุ้ง หอย ปู สาหร่าย ดีปลีน้ำ แหน



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ ปกติพบเป็นฝูง และอาจอยู่รวมฝูงกับเป็ดน้ำอื่น เช่น เป็ดลาย หาอาหารบริเวณผิวน้ำในเวลากลางคืน กลางวันจะลอยน้ำพักผ่อนในป่ากก ป่าจูด ป่าหญ้าตามแหล่งน้ำ เมื่อมีสิ่งรบกวนจะบินขึ้นเหนือน้ำทันที ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ของเป็ดชนิดนี้ในประเทศไทย





สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่






 
 





เป็ดเปีย






Tufted Duck

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Aythya fuligula



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ตัวผู้ลำตัวด้านบนและอกเป็นสีดำ ท้อง สีข้าง และขนปีกด้านล่างสีขาว หัวสีม่วงเข้มเกือบดำ บริเวณท้ายทอยมีกระจุกขนสีดำงอกออกมาเป็นเปียซึ่งเห็นได้ชัดเจน ส่วนตัวเมียลำตัวส่วนใหญ่สีออกน้ำตาลเข้ม สีข้างสีน้ำตาลท้องสีขาว หัวมีเปียสั้น ๆ บางตัวโคนปากมีแถบสีขาว





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกาตอนกลางและตอนเหนือ ทวีปเอเชียตอนเหนือ จีน อินเดียตอนเหนือ เกาะไต้หวัน ญี่ปุ่น พม่า ลาว เวียดนาม เกาะบอร์เนียว และฟิลิปปินส์ ในไทยพบได้ในเฉพาะภาคกลาง บริเวณบึงบอระเพ็ด

เป็ดเปียหาอาหารด้วยการว่ายและดำน้ำ อาหารได้แก่ สัตว์น้ำและพืชน้ำ



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

พบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นฝูงเล็ก ๆ รวมฝูงกับนกเป็ดน้ำชนิดอื่นตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มันสามารถบินได้ดี ว่ายและดำน้ำได้ดีมาก

ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ของเป็ดเปียในประเทศไทย



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว











เป็ดพม่า






Ruddy Shelduck(Brahminy Duck)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Tadorna ferruginea



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นนกขนาดกลาง - ใหญ่ ลำตัวยาวประมาณ 64 เซนติเมตร ลักษณะทั่วไปคล้ายห่านแต่ขายาวกว่าและคอสั้นกว่า โดยทั่วไปลำตัวเป็นสีน้ำตาลแดงแกมส้ม บริเวณหัวสีน้ำตาลอ่อน ขณะบินจะเห็นขนคลุมขนปีกสีขาวตัดกับสีดำของขนปีกทั้งด้านบนและด้านล่าง แววขนปีกสีเขียว ปากและนิ้วสีดำ ตัวผู้มีเส้นรอบคอสีดำ ตัวเมียไม่มีเส้นรอบคอ





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในแอฟริกา ยูเรเซีย อินเดีย จีน ไต้หวัน พม่า ไทย เวียดนามตอนเหนือ และบริเวณอ่าวตังเกี๋ย

เป็ดพม่ากินพืชน้ำ และสัตว์ตามชายน้ำ หรือตามทุ่งหญ้าที่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำมากนักกินพืชน้ำ และสัตว์ตามชายน้ำ หรือตามทุ่งหญ้าที่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำมากนัก



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อาศัยอยู่ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ ทุ่งนาที่มีน้ำขังหรือแหล่งน้ำในที่ราบลุ่ม พบเป็นคู่หรือเป็นฝูง สามารถบินได้ดี ว่ายน้ำได้ดีมาก เวลาพักผ่อนจะยืนบนบกหรือบริเวณชายน้ำตื้น มักยืนนิ่งหรือหดคอสั้น เมื่อมีภัยหรือสิ่งรบกวนมันจะบินขึ้นหรือลงไปว่ายในน้ำ

เป็ดพม่าไม่มีการทำรังวางไข่ในประเทศไทย



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นนกอพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ หายากและปริมาณน้อยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางบางแห่ง จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์สงขลา











เป็ดมาลลาร์ด






Mallard

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Anas platyrhynchos



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ตัวผู้บริเวณหัวและคอสีเขียวเข้ม มีแถบสีขาวรอบคอ อกสีน้ำตาลแกมน้ำตาลแดงเข้ม ลำตัวด้านบนสีเทาแกมน้ำตาลอ่อน ตะโพกและขนคลุมโคนขนหางด้านบนเป็นสีดำ ขนหางสีออกขาว ท้องมีสีจางกว่าลำตัวด้านบน ปากสีเหลืองแกมเขียว ขาสีส้ม ขาของตัวเมียเป็นลายสีน้ำตาล มีแถบคาดตาสีดำ ปีกมีแววขนปีกสีน้ำเงิน ปากสีออกน้ำตาลมักมีขอบสีเหลืองหรือสีส้ม ขนหางสีจางกว่าขนคลุมโคนขนหางด้านบน





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในทวีปอมเริกาเหนือ ยุโรป ตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย ในนิวซีแลนด์เป็นนกที่มีผู้นำเข้าไป

เป็ดมาลลาร์ดกินเมล็ดข้าวเปลือก ธัญพืช และสัตว์น้ำ เช่น หอย ปู ปลา กบ เขียด



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ โดยเฉพาะบึงและทะเลสาบ มักอยู่เป็นฝูงบางฝูงอาจประกอบด้วยนก 40-50 ตัว และอาจพบรวมฝูงกับนกเป็ดน้ำหลายชนิด ออกหากินเวลากลางคืน ส่วนกลางวันมักว่ายน้ำพักผ่อนบริเวณที่ค่อนข้างตื้น และอาจกินสัตว์น้ำในแหล่งที่อาศัยด้วย

ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ของเป็ดชนิดนี้ในประเทศไทย



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว


 
 
 
 
 
 
 




เป็ดแมนดาริน








Mandarin Duck

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Aix galericulata



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นนกขนาดกลาง มีความยาวลำตัวประมาณ 48 เซนติเมตร ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มีสีฉูดฉาดหลายสีซึ่งแต่ละสีตัดกันเห็นเด่นชัดสวยงามมาก และมีขนปีกสีส้มขนาดใหญ่ดูคล้ายเป็นแผงข้างละเส้นงามสะดุดตา เป็ดแมนดารินตัวผู้ขนจะสวยงามในฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ซึ่งเป็นฤดูหนาว เมื่อพ้นฤดูผสมพันธุ์แล้ว ตัวผู้จะผลัดขนจนดูคล้ายตัวเมีย





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในจีน ญี่ปุ่น อินเดีย พม่า ไทย และไต้หวัน

เป็ดแมนดารินกิน แหน ลูกกุ้ง ปู ปลา กบ เขียด แมลง



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอยู่ตามหนองบึง ลำห้วยที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมเพื่ออาศัยเป็นที่หลบซ่อนตัว ชอบเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ อยู่เป็นฝูงเล็กๆ ตามแหล่งน้ำ สามารถบิน เดิน และว่ายน้ำได้ดี

เป็ดแมนดารินวางไข่ครั้งละ 9 - 12 ฟอง ไข่สีเนื้อเป็นมัน ระยะเวลาฟักไข่นาน 28-30 วัน



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นนกอพยพมาประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ หายากและมีปริมาณน้อยมาก พบเฉพาะทางภาคเหนือ และภาคกลางบางแห่ง ตามกฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

ป็นนกอพยพมาประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ หายากและมีปริมาณน้อยมาก พบเฉพาะทางภาคเหนือ และภาคกลางบางแห่ง ตามกฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535










แหล่งอ้างอิง:http://www.moohin.com/animals

พันธุ์เสือ





เสือโคร่ง



Tiger

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Panthera tigris



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นเสือชนิดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนสีเหลืองปนเทาหรือเหลืองปนน้ำตาล มีลายดำยาวพาดขวางทั้งตัว หางก็มีลายดำพาดขวางเช่นกัน ดูคล้ายเป็นปล้อง ๆ ปลายหางดำ หลังหูดำและมีจุดสีขาวนวลใหญ่เห็นได้ชัด





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบตั้งแต่ไซบีเรียจนถึงทะเลแคสเปียน อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบอยู่ทุกภาค และมีชุกชุมในป่าแถบแนวเทือกเขาตะนาวศรี และที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

เสือโคร่งกินสัตว์ป่าทุกชนิด โดยเฉพาะหมูป่าและกวางเป็นเหยื่อที่ชอบกินมาก



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ว่ายน้ำและขึ้นต้นไม้ได้ แต่ปกติไม่ชอบขึ้นต้นไม้ ชอบน้ำมากกว่าเสือชนิดอื่น วันที่อากาศร้อนแช่อยู่ในน้ำได้นานเป็นชั่วโมง

เสือโคร่งโดยปกติไม่อยู่เป็นคู่ นอกจากใจช่วงผสมพันธุ์ ปกติตัวเมียจะเป็นสัตว์ทุก 50 วัน และเป็นสัดอยู่นาน 5 วัน ซึ่งในระยะนี้ตัวผู้จะเข้ามาอยู่ด้วย มีระยะตั้งท้องนาน 105-110 วัน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา













เสือโคร่งเบงกอล






Bengal Tiger(Indian Tiger)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pantheras tigris



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ลำตัวมีสีเหลืองปนเทา หรือสีเหลืองปนน้ำตาล มีลายแถบปรากฏบนหลังและด้านข้างลำตัวต่างกัน ขนใต้ท้อง คางและคอเป็นสีขาว ขนเหนือตามีสีขาว และมีแถบสีดำ หางมีแถบสีดำเป็นบั้งตั้งแต่โคนหางถึงปลายหาง ปลายหางมีสีดำ หลังหูดำ และมีจุดสีขาวนวลใหญ่เห็นได้ชัด





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในอินเดีย เนปาล บังคลาเทศ และพม่า

เสือโคร่งเบงกอลกินเนื้อสัตว์ทุกชนิด โดยเฉพาะ หมูป่า และกวาง



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

เสือโคร่งจะทำการกำหนดอาณาเขตโดยการข่วนรอยไว้ตามต้นไม้ การปัสสาวะก็เป็นอีกวิธีหนึ่งเพื่อบอกอาณาเขต โดยปกติแล้วเสือโคร่งเป็นสัตว์ที่จะออกล่าเหยื่อก็ต่อเมื่อมันหิว และจะไม่ล่าเหยื่อที่ใหญ่กว่าตัวมันเอง เนื่องจากมีความเสี่ยง และอาจไม่ประสบความสำเร็จในการล่า สำหรับช่วงฤดูการผสมพันธุ์เสือโคร่งจะอาศัยอยู่เป็นคู่

เสือโคร่งไม่อยู่เป็นคู่ นอกจากฤดูผสมพันธุ์ เป็นสัดนานประมาณ 3-6 วัน ผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 30-36 เดือนขึ้นไป ผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ตั้งท้องนาน 95-105 วัน ออกลูกครั้งละ 2-5 ตัว และแม่เสือจะเลี้ยงลูกเสือจนโตอายุประมาณ 2 ปี จึงจะแยกจากกัน



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เชียงใหม่














เสือจากัวร์






Jaguar

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Panthera onca



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นเสือขนาดใหญ่รองลงมาจากเสือโคร่ง ขนสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง มีจุดดำทั้งตัว บริเวณกลางลำตัวมีจุดดำเป็นหมู่ๆ หลังหูดำและมีจุดสีนวลที่หลังหู





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในทวีปอเมริกาใต้

เสือจากัวร์กินสัตว์ป่าทุกชนิดที่จับได้ เช่น กวาง หมู ลิง นกยูง สุนัข รวมทั้งแมลง



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อยู่ในป่าได้ทุกชนิด ทั้งป่าทึบ ป่าโปร่ง และป่าที่มีโขดหิน ทนร้อนได้ดี ไม่ชอบลงเล่นน้ำ ชอบอยู่โดดเดี่ยว จะอยู่เป็นคู่ในฤดูผสมพันธุ์

เสือจากัวร์มีระยะตั้งท้อง 90-105 วัน ให้ลูก 1-4 ตัว เป็นวัยเจริญพันธุ์ เมื่อมีอายุ 2-3 ปี และมีอายุยืนประมาณ 22 ปี



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่

 
 
 
 
 
 




เสือชีต้า






Cheetah

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Acinonyx jubatus



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นเสือรูปร่างเพรียว มีขนาดเล็กกว่าเสือดาวเล็กน้อย ขายาว มีขนหยาบสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลืองอมแดง ตามลำตัวมีลายเป็นจุดสีดำ ปลายหางหนึ่งในสามมีวงแหวนสีดำ ปลายสุดเป็นสีขาว มีเส้นสีดำจากใต้หัวตามามุมปากทั้งสองข้าง หูเล็กกลม ขนท้ายทอยยาวตั้งขึ้นเป็นแผง คอสั้น เป็นเสือที่วิ่งเร็วที่สุด สามารถวิ่งได้เร็วถึง 100-110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง





ถิ่นอาศัย, อาหาร

มีถิ่นอาศัยอยู่ในแอฟริกา ในทะเลทรายซาฮารา แทนซาเนีย นามีเบีย ในเอเชีย พบในเอเชียไมเนอร์ เตอร์กีสถาน และอินเดีย แต่ในอินเดียปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว

ปกติเสือชีต้าล่าเหยื่อขนาดปานกลางเช่น แอนติโลป กาเซลล์ อิมพาล่า วอเตอร์บัค สำหรับเหยื่อขนาดใหญ่อย่างม้าลาย ก็ล่าได้เช่นกัน นอกจากนี้ก็ล่ากระต่ายป่า นก รวมทั้งแพะแกะด้วย



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าแห้งแล้ง ปีนต้นไม้ไม่เก่ง ใช้การถ่ายปัสสาวะเป็นเครื่องกำหนดอาณาเขต ชอบล่าเหยื่อเป็นกลุ่มเล็กๆ

เสือชีต้าเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 90-95 วัน ออกลูกครั้งละ1-8 ตัว



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์นครราชสีมา





 
 
 




เสือดาว,เสือดำ






Leopard(Panter)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Panthera pardus



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เสือดาวและเสือดำเป็นเสือมีขนาดใหญ่รองลงมาจากเสือโคร่ง เสือดาวมีขนสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง มีจุดดำทั้งตัว แต่บริเวณกลางตัวมีจุดดำเป็นกลุ่มๆ ที่เรียกกันว่า "รอยขยุ้มตีนหมา" หลังหูดำ มีจุดสีขาวนวลที่หลังหูเหมือนเสือโคร่ง ส่วนเสือดำนั้นมีขนาดและรูปร่างเหมือนเสือดาวทุกประการ แต่มีสีดำตลอดตัว





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในแอฟริกาและเอเชีย ตั้งแต่แมนจูเรียลงมาถึงอินโดจีน ไทย มาเลเซีย และชวา สำหรับประเทศไทยพบตามป่าทั่วไปแต่พบมากทางภาคใต้

กินสัตว์ป่าทุกชนิดที่จับได้ เช่น หมู กวาง ลิง นกยูง สุนัข และแมลง บางครั้งปู ปลาก็กิน



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อยู่ในป่าได้ทุกชนิด ทั้งป่าทึบ ป่าโปร่งและป่าที่มีโขดหิน ทนร้อนได้ดีกว่าเสือโคร่งไม่ชอบอาบน้ำอย่างเสือโคร่ง ขึ้นต้นไม้เก่งกว่าเสือโคร่ง เป็นสัตว์ที่ว่องไวและดุ ปกติแล้วอยู่ตามลำพังตัวเดียว จะอยู่เป็นคู่ในระยะผสมพันธุ์เท่านั้น ชอบกระโดดจากต้นไม้เพื่อจับเหยื่อบนพื้นดิน และลากเหยื่อขึ้นต้นไม้เพื่อกันไม่ให้สัตว์อื่นมาแย่ง

เสือดาวและเสือดำผสมพันธุ์ได้ตลอดปี และไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน ระยะเป็นสัดนาน 3-14 วัน ระยะตั้งท้องนาน 98-105 วัน ออกลูกครั้งละ 1-5 ตัว ลูกหย่านมเมื่อมีอายุ 6 สัปดาห์ และมีอายุยืนราว 20 ปี



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา











เสือดาว,เสือดำ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม






Leopard(Panter)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Panthera pardus



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เสือดาวและเสือดำเป็นเสือมีขนาดใหญ่รองลงมาจากเสือโคร่ง เสือดาวมีขนสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง มีจุดดำทั้งตัว แต่บริเวณกลางตัวมีจุดดำเป็นกลุ่มๆ ที่เรียกกันว่า "รอยขยุ้มตีนหมา" หลังหูดำ มีจุดสีขาวนวลที่หลังหูเหมือนเสือโคร่ง ส่วนเสือดำนั้นมีขนาดและรูปร่างเหมือนเสือดาวทุกประการ แต่มีสีดำตลอดตัว





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในแอฟริกาและเอเชีย ตั้งแต่แมนจูเรียลงมาถึงอินโดจีน ไทย มาเลเซีย และชวา สำหรับประเทศไทยพบตามป่าทั่วไปแต่พบมากทางภาคใต้

กินสัตว์ป่าทุกชนิดที่จับได้ เช่น หมู กวาง ลิง นกยูง สุนัข และแมลง บางครั้งปู ปลาก็กิน



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อยู่ในป่าได้ทุกชนิด ทั้งป่าทึบ ป่าโปร่งและป่าที่มีโขดหิน ทนร้อนได้ดีกว่าเสือโคร่งไม่ชอบอาบน้ำอย่างเสือโคร่ง ขึ้นต้นไม้เก่งกว่าเสือโคร่ง เป็นสัตว์ที่ว่องไวและดุ ปกติแล้วอยู่ตามลำพังตัวเดียว จะอยู่เป็นคู่ในระยะผสมพันธุ์เท่านั้น ชอบกระโดดจากต้นไม้เพื่อจับเหยื่อบนพื้นดิน และลากเหยื่อขึ้นต้นไม้เพื่อกันไม่ให้สัตว์อื่นมาแย่ง

เสือดาวและเสือดำผสมพันธุ์ได้ตลอดปี และไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน ระยะเป็นสัดนาน 3-14 วัน ระยะตั้งท้องนาน 98-105 วัน ออกลูกครั้งละ 1-5 ตัว ลูกหย่านมเมื่อมีอายุ 6 สัปดาห์ และมีอายุยืนราว 20 ปี



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา














เสือปลา






Fishing Cat

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Prionailurus viverrinus



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

รูปร่างคล้ายแมวบ้านแต่ตัวโตกว่า หน้าสั้น ขาสั้น หางสั้นกว่าครึ่งของลำตัว ใบหูกลม มีขนสีเทาแกมน้ำตาล มีลายสีน้ำตาลแกมดำสั้นๆเรียงเป็นแนวตามตัว





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในเนปาล อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดจีน เกาะสุมาตรา และชวา สำหรับประเทศไทยพบตามป่าต่ำทั่วไปซึ่งอยู่ใกล้หนองน้ำลำธาร

กินแมลงและสัตว์เล็กต่างๆเป็นอาหาร เช่น ปู กบ เขียด นก หนู และหอย แต่ปลาเป็นเหยื่อที่เสือปลาชอบมากที่สุด



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ใกล้น้ำ หากินริมน้ำ หาปลากินโดยดักปลาที่เข้ามาหากินตามแหล่งน้ำตื้น สามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้ เสือปลาเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนานประมาณ 63 วัน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว ลูกเสือปลาหย่านมเมื่อมีอายุเกินกว่า 6 เดือน และมีอายุยืนราว 20 ปี

เสือปลาเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนานประมาณ 63 วัน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว ลูกเสือปลาหย่านมเมื่อมีอายุเกินกว่า 6 เดือน และมีอายุยืนราว 20 ปี



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์สงขลา













เสือไฟ






Asiatic Golden Cat(Temminck's Cat)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Profelis temmincki



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

รูปร่างเพรียว สูงใหญ่ขนาดสุนัขพื้นเมือง ขายาว มีขนสีน้ำตาลแกมแดง ไม่มีลายและจุดดำตามตัว แต่มีเส้นดำ 2-3 เส้นวิ่งตามยาวลงมาที่หน้าผาก ไม่มีจุดขาวที่หลังหู ด้านบนของหางมีสีน้ำตาลเข้ม แต่ตรงปลายหางด้านล่างเป็นสีขาวเห็นได้ชัด เสือไฟเวลาเดินจะยกหางขึ้นข้างบน





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในธิเบต เนปาล สิกขิมตลอดจนจีนตอนใต้ พม่า ไทย และอินโดจีนจนถึงมาเลเซียและสุมาตรา สำหรับประเทศไทย พบทั้งในป่าผลัดใบและป่าดงดิบทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะแนวป่าทางทิศตะวันตกติดประเทศพม่าลงไปทางใต้

เสือไฟกินสัตว์เล็กๆเช่น กระต่าย กวางเล็ก ๆ นกยูง เก้ง กิ้งก่า เป็ด ไก่



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอยู่ตามป่าทั่วไปหรือป่าโปร่ง ปกติชอบอยู่บนพื้นดิน ไม่ชอบขึ้นต้นไม้ แต่สามารถขึ้นต้นไม้ได้ดีเมื่อจำเป็น ดุเมื่อจวนตัว ถ้านำมาเลี้ยงแต่เล็กจะเชื่องง่าย

เสือไฟสามารถเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 95 วัน ออกลูกครั้งละ 1-2 ตัว มีอายุยืนประมาณ 18 ปี



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา





 
 
 
 
 




เสือลายเมฆ






Clouded Leopard

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Neofelis nebulosa



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ตัวมีสีน้ำตาลแกมเขียวและมีลายเป็นวงใหญ่คล้ายก้อนเมฆ หูด้านในมีสีอ่อน ด้านนอกเป็นสีเข้มและมีจุดขาวที่หลังหู หน้าผากมีจุดสีเข้มหลายจุด หางยาวใหญ่มากและมีจุดตลอดหาง ขาค่อนข้างสั้นและเท้าใหญ่





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในเนปาล สิกขิมไปทางตะวันออกจนถึงตอนใต้ของประเทศจีนและไต้หวัน ลงมาถึงพม่า ไทย มาเลเซีย บอร์เนียว และสุมาตรา ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค

เสือลายเมฆกินสัตว์เล็กเช่น นก งู ลิง ค่าง จนถึงลูกสัตว์ใหญ่



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอยู่และหากินบนต้นไม้มากกว่าบนพื้นดิน มักนอนบนกิ่งไม้เพื่อกระโดดลงมาจับสัตว์กิน หากินเวลากลางคืน มักอยู่เป็นคู่ช่วยกันล่าเหยื่อ

เสือลายเมฆเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2-3 ปี ระยะตั้งท้องนาน 90-95 วัน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว ลูกหย่านมเมื่ออายุ 5 เดือน มีอายุยืนราว 17 ปี



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา







แหล่งอ้างอิง:http://www.moohin.com/animals/

พันธุ์ลิง




ลิงกระรอก(ลิงกระรอกปากดำ)






Squirrel Monkey(Common Squirrel Monkey)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Saimiri sciurea



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นลิงขนาดเล็กขนาดพอ ๆ กับตัวทามาริน (TAMARINS) ขนาดของลำตัววัดจากหัวจรดโคนหางยาวประมาณ 12 นิ้ว หรือ 1 ฟุต หางมีความยาวมากกว่าลำตัว หางยาวประมาณ 16 นิ้ว หนังบริเวณรอบจมูกและปากเป็นวงสีดำ ใบหน้าเป็นสีชมพูหรือสีเนื้อ มองเผิน ๆ เหมือนกับสวมหน้ากากอยู่ ดวงตาสีน้ำตาลดำ ขนตามลำตัวยาวไม่มากนัก มีสีน้ำตาลแซมด้วยสีเทาเหมือนสีของกระรอก บริเวณศีรษะจะมีขนสีดำขึ้นแซมอยู่ทั่วไป ขนบริเวณใต้อกลงไปถึงใต้หางจะมีสีเหลืองนวล ส่วนขนบริเวณแขนและขามีสีเหลืองส้ม แลดูเด่นสะดุดตามาก ปลายหางมีขนสีดำ ลักษณะหางคล้ายหางของกระรอก มีนิ้วมือ นิ้วเท้าข้างละ 5 นิ้ว ลักษณะคล้ายกับนิ้วมือคน แต่จะยาวกว่า เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักไม่เกิน 1 กิโลกรัม นับว่าเป็นลิงที่ตัวเล็กและน้ำหนักเบามาก ความแตกต่างระหว่างตัวผู้และตัวเมียนอกเหนือจากการสังเกตที่อวัยวะเพศแล้ว ยังสามารถสังเกตได้จากขนาดของมัน คือตัวผู้จะโตกว่า และมีหัวที่ใหญ่กว่าของตัวเมีย และเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้จะมีสีสันที่สดใสกว่าตัวเมีย





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในทวีปอเมริกาใต้

กินผลไม้ ดอกไม้บางชนิด ลูกนก จิ้งจก ไข่นก กบ และแมลงต่าง ๆ



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยฝูงหนึ่ง ๆ จะอยู่รวมกันประมาณ 20 - 30 ตัว ชอบกระโดดโลดเต้นไปมา เวลากระโดดมันจะกระโดดไปพร้อม ๆกันทั้ง 4 ขา เหมือนกับการกระโดดลอยตัวของกระรอก ดังนั้นเวลามองจากที่ไกล ๆ จะเหมือนกับกระรอกมาก การเคลื่อนที่โดยมากจะใช้วิธีกระโดดจากยอดไม้หนึ่งไปยังอีกยอดหนึ่ง ไม่ค่อยชอบเดินบนพื้นดิน เวลานอน ชอบนอนบนต้นไม้สูง ๆ นอนบนคาคบไม้ จะไม่ลงมานอนบนพื้นดินหรือในซอกโพรง มีนิสัยไม่ดุร้าย รักความสงบไม่ก้าวร้าว จึงไม่ค่อยมีเรื่องทะเลาะวิวาทกัน ทั้งกับฝูงของตน หรือกับฝูงอื่น สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ค่อนข้างดี จึงมักไม่ค่อยมีปัญหาในการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย

ลิงกระรอกผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว อายุยืนราว 20 ปี



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา















ลิงกัง






Pig-tailed Macaque

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Macaca nemestrina



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นลิงที่มีรูปร่างอ้วนสั้น ขนสั้นสีเทาหรือสีน้ำตาล หน้าค่อนข้างยาว ขนบนหัวสั้นมีสีเทาหรือ สีน้ำตาล และขึ้นวนเป็นก้นหอย ขนตรงส่วนใต้ท้องมีสีจางจนเกือบขาว หางค่อนข้างสั้น ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และมีขนปรกหน้าผากน้อยกว่าลิงตัวผู้





ถิ่นอาศัย, อาหาร

ลิงกังพบในอัสสัม พม่า ไทย มาเลเซีย สุมาตรา บอร์เนียว สำหรับประเทศไทยพบทั่วไปแทบทุกภาค พบมากตั้งแต่ราชบุรี เพชรบุรี จนถึงภาคใต้

ลิงกังชอบกินผลไม้ เมล็ดพืช และแมลงเป็นอาหาร เวลากินอาหารมักชอบเก็บไว้ข้างแก้มแล้วค่อยๆ เอามือดันอาหารที่เก็บไว้ออกมากินทีละน้อย



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบบริเวณเชิงเขา ชอบท่องเที่ยวไปเรื่อย ไม่ค่อยอยู่เป็นที่ บางตัวออกหากินตัวเดียว ไม่รวมฝูง ชอบลงมาอยู่ตามพื้นดินมากกว่าอยู่บนต้นไม้ แต่เวลานอนขึ้นไปนอนบนต้นไม้ ชอบส่งเสียงร้องและมักร้องรับกันทั้งฝูง

ลิงกังเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3-4 ปี ผสมพันธุ์ทุกฤดู ระยะตั้งท้องประมาณ 5-7 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว และมีอายุยืนราว 25 ปี ตัวผู้หรือแต่ละตัวอาจผสมพันธุ์กับตัวอื่นได้หลายตัว และไม่อยู่เป็นคู่แน่นอน



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา










ลิงชิมแปนซี






Chimpanzee

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pan troglodytes



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นลิงที่ไม่มีหาง คล้ายคนมาก แขนและขามีความยาวพอ ๆ กัน สมองเจริญมากทำให้เฉลียวฉลาดกว่าอุรังอุตังและกอริลล่า มีเชาว์ปัญญาเกือบเท่ามนุษย์ สามารถเดินตรงได้แต่นิ้วเท้าจะหันไปข้างนอก เวลาเดินตัวจะเอนไปข้างหน้า แขนตรง และวางข้อมือลงบนพื้น นานๆ ครั้งจะเดิน 2 เท้าแบบมนุษย์ ซึ่งในการเดินแบบนี้ ลิงชิมแปนซีจะเอามือไว้ข้างหลังเพื่อช่วยในการทรงตัว หรือชูมือทั้ง 2 ข้างขึ้นสูง ตัวผู้สูงราว 5 ฟุต ส่วนตัวเมียสูงราว 4 ฟุต เวลากินน้ำจะใช้ปากก้มลงดื่มโดยตรง ไม่ใช้มือจุ่มน้ำขึ้นมาเหมือนชะนี ว่ายน้ำไม่เป็น มีความจำดีมาก มีอารมณ์ความรู้สึกเช่นเดียวกับคน





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในทวีปแอฟริกา มีอยู่ 3 พันธุ์ คือชนิดหน้าขาวหรือน้ำตาลจาง ชนิดหน้าดำหรือน้ำตาลไหม้และชนิดแคระซึ่งเป็นชนิดที่หายากกว่าชนิดอื่น ลิงชิมแปนซีอยู่กระจายกันตั้งแต่เซราเลโอนไปตามแนวชายฝั่งตะวันตกของทวีปข้ามไปถึงทะเลสาบเกรท (Great Lake) ทางตะวันออกของคองโก

กินผลไม้ ใบไม้ ผัก เป็นอาหาร กินเนื้อได้บ้างเล็กน้อย



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง พักอาศัยอยู่บนต้นไม้ เคลื่อนไหวไปมาได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวเวลาอยู่บนต้นไม้ ในฝูง ๆ หนึ่งจะมีตัวผู้เป็นพ่อตัวหนึ่ง ตัวเมียอาจมีตัวเดียวหรือหลายตัวรวมทั้งพวกลูก ๆ มันสร้าง "รังนอน" ของมันไว้บนต้นไม้ โดยเฉพาะบนคาคบไม้ซึ่งมันจะทำพื้นของรังให้เรียบ ด้านบนมีกิ่งไม้ใบไม้ปกคลุมบังอยู่ มันจะใช้ "รัง" นี้เป็นที่อาศัยพักผ่อนหลับนอนในตอนกลางคืน ชอบตื่นแต่เช้าตรู่ ฉลาดมาก สามารถเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรมของคนได้เกือบทุกอย่าง เช่นสวมเสื้อเองได้ กินอาหารและดื่มน้ำบนโต๊ะได้ เป็นต้น

ชิมแปนซีเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 7-9 ปี เป็นสัดทุก ๆ 33-38 วัน ระยะเวลาสำหรับการผสมพันธุ์นาน 3 วัน ตั้งท้องนานประมาณ 230 วัน ลูกจะอยู่กับแม่นาน 1-2 ปี และมีอายุยืนประมาณ 40 ปี



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา











ลิงบาบูน







Chacma Baboon

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Papio ursinus



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

รูปร่างค่อนข้างใหญ่ ขนตามตัวสีน้ำตาล ขนค่อนข้างหยาบ หน้าดำ หูมีขนน้อย แต่ตัวผู้ขนตรงรอบคอและไหล่ยาว และมีขนปรกที่ปาก ร้องเสียงดัง วิ่งเหมือนม้าควบ ว่ายน้ำเก่ง





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในแอฟริกาใต้

กินสัตว์เล็ก ๆ ซากสัตว์และแมลงต่าง ๆ อีกทั้งผักและ ผลไม้ทุกชนิด



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ฝูงหนึ่งมีจำนวนเป็นร้อยอาจถึง 200-300 ตัว มีหัวหน้าเป็นตัวผู้ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมสังคมของมันให้เป็นระเบียบ ในเวลากลางคืนชอบนอนในถ้ำ ซอกหิน หรือ บนกิ่งไม้ใหญ่ ลิงบาบูนไม่ค่อยพบในป่าทึบ ชอบอยู่ตามเขาที่เป็นหินมีต้นไม้น้อย เนื่องจากว่าลิงบาบูนขึ้นต้นไม้ไม่เก่ง

ลิงบาบูนผสมพันธุ์เป็นคู่ ไม่ปะปนกัน ตั้งท้องประมาณ 6-7 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกจะอยู่กับแม่ตลอดเวลา บางครั้งพ่อจะช่วยดูแลลูก เมื่อลูกยังเล็กจะอยู่ที่อกแม่และดูดนมแม่ เมื่อโตขึ้นมาหน่อยจะเปลี่ยนขึ้นมาเกาะหลังแม่ ลิงบาบูนมีอายุยืนราว 20 ปี



สถานภาพปัจจุบัน


สถานที่ชม

สวนสัตว์นครราชสีมา









ลิงมัวร์




Moor Macaque

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Macaca maura



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นลิงที่มีรูปร่างใหญ่ แข็งแรง ขนตามลำตัวมีสีเทาอมดำ บริเวณแขนและขา และด้านท้ายของตะโพกขนจะมีสีอ่อนกว่า โดยทั่วไปจะเป็นสีเทา เมื่อยืนอยู่กับพื้นจะยืนทั้งสี่ขา มีความสูงถึงช่วงไหล่ประมาณ 40 เซนติเมตร ความยาวของลำตัวตั้งแต่หัวถึงโคนหางประมาณ 65 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 18 - 32 กิโลกรัม หัวมีขนาดใหญ่ คิ้วจะเป็นสันยื่นออกมาเห็นได้ชัด มือและเท้าแบน เวลาใช้มือยันพื้นนิ้วหัวแม่มือจะยื่นเข้าหาลำตัว เล็บมือและเล็บเท้าแบน ตรงก้นมีแผ่นหนังซึ่งปราศจากขน ซึ่งเรียกว่า “แผ่นรองก้น” มี 2แผ่นและเป็นสีชมพู เป็นลิงหางสั้น ยาวแค่ประมาณ 1.5 นิ้ว ส่วนใหญ่หางจะพับ ถ้าไม่สังเกตจะมองไม่เห็น





ถิ่นอาศัย, อาหาร

เกาะซีลีบีส ประเทศอินโดนีเซีย

อาหารของลิงมัวร์ได้แก่ ใบไม้ ผลไม้ หน่ออ่อนของต้นไม้ หมูป่า กวาง แมลง รวมทั้งสัตว์เล็ก



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีนิสัยดุร้าย ชอบเดินหากินบนพื้นดินมากกว่าขึ้นต้นไม้ จะหลบขึ้นต้นไม้ก็ต่อเมื่อหลบหนีศัตรู หรือนอนพักผ่อน บางครั้งฝูงลิงมัวร์จะช่วยกันล่าสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น หมูป่า กวาง เป็นต้น

ลิงมัวร์พร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 5 ปี ตัวเมียตั้งท้องนานประมาณ 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกจะเกาะอยู่ที่อกของแม่เพื่อดูดนม อายุประมาณ 10 เดือนจึงหย่านม และมีอายุยืนราว 30 ปี



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต



 
 
 
 



ลิงมาร์โมเส็ทธรรมดา






Common Marmoset

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Collithrix jacchus



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

มีสีขาวบริเวณด้านข้างของหัว ลำตัวจะมีขนสั้นสีเทาและลายสีเทาเข้ม หางมีสีเทาจางสลับเทาเข้ม ความยาวลำตัวประมาณ 20–25 เซนติเมตร หางยาว 29–35 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 400 กรัม





ถิ่นอาศัย, อาหาร

มีถิ่นอาศัยอยู่ป่าเขตร้อนทางภาคตะวันออกของบราซิล

กินผลไม้ แมลง ไข่นก รวมทั้งนกขนาดเล็ก



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ละประมาณ 3–8 ตัว จะวิ่งและกระโดดไปมาบนต้นไม้ สามารถกระโดดจากกิ่งไม้กิ่งหนึ่งไปยังอีกกิ่งหนึ่งซึ่งไม่ไกลมากนัก ตอนกลางคืนจะซ่อนตัวในโพรงไม้หรือพุ่มไม้

ลิงมาโมเส็ทธรรมดามีระยะตั้งท้องนาน 142-150 วัน ออกลูกครั้งละ 1-3 ตัว



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา











ลิงมาร์โมเส็ทจีโอฟรอย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม






Geoffoy’s Marmoset

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Collithrix geoffroyi



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ลิงมาร์โมเส็ทแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะของเครา แผงคอ และหนวด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ทำให้ลิงมาร์โมเส็ทมีความหลากหลายมากที่สุดและมีสีสันมากที่สุด มีความแตกต่างของขนาด น้ำหนักและความยาวของลำตัว ส่วนใบหน้าของลิงมาร์โมเส็ทคล้ายใส่หน้ากากสี ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างกันเพื่อบ่งบอกชนิดของมัน โดยแต่ละชนิดจะมีขนปกคลุมที่อ่อนนุ่ม





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบอยู่ทางชายผั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้

อาหารส่วนใหญ่จะเป็นผลไม้ เกสรดอกไม้ และแมลงเล็ก ๆ



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอยู่รวมกันในกลุ่มครอบครัวราว 4–15 ตัว สังคมของลิงมาร์โมเส็ทจะปกป้องอาณาเขตจากกลุ่มอื่นด้วยการร้อง การแสดงตัว และท่าทาง ไม่ใช่สัตว์ที่ใช้ความรุนแรง และพบน้อยมากที่จะใช้กำลังรุนแรงบุกรุก

ลิงมาร์โมเส็ทโตเต็มที่เมื่อมีอายุราว 2 ปี



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่



 
 
 

 







ลิงแมนดริล






Mandrill

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Mandrillus sphinx



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นลิงที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ตัวผู้มีลักษณะแตกต่างจากตัวเมีย โดยตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่า จมูกมีสีแดง แก้มสีน้ำเงิน บริเวณก้นมีสีแดงและน้ำเงินเช่นเดียวกับใบหน้า ส่วนตัวเมียบริเวณใบหน้าไม่มีสีแดง สีของลิงชนิดนี้จะปรากฏชัดและเข้ม เมื่อลิงแสดงพฤติกรรมการเกี้ยวพาราสี เวลาโกรธ และขณะต่อสู้กัน





ถิ่นอาศัย, อาหาร

อาศัยอยู่ในป่าแถบตะวันตกของทวีปแอฟริกา แถบไนจีเรีย และคาเมรูน

กินพืชและสัตว์เป็นอาหาร ได้แก่ รากไม้ ผลไม้ แมลง งู และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงซึ่งอาจมีจำนวนมากถึง 50 ตัว โดยมีจ่าฝูงและตัวนำรองๆลงมา





สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา










ลิงลม(นางอาย)






Slow Loris

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Nycticebus coucang



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

รูปร่างเล็กขนนุ่มสั้นหนาเป็นปุย มีเส้นสีน้ำตาลเข้มจากหัวไปตลอดแนวสันหลัง หน้าสั้น ตาโตกลม ใบหูเล็กจมอยู่ในขน ไม่มีหาง ไม่มีนิ้วหัวแม่มือ นิ้วเท้าอันที่สองมีเล็บเป็นตะของอโค้ง ทั้งนี้เพื่อจับกิ่งไม้ได้แน่นในขณะมันลุกขึ้นยืนเพื่อจับแมลงกินเป็นอาหาร ป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวช้า แต่แว้งกัดได้รวดเร็ว





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในไทย อินโดจีน มาเลเซีย สุมาตรา ชวา บอร์เนียว และมินดาเนา

กินแมลง สัตว์เล็ก ๆ ไข่นก และผลไม้



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

หากินบนต้นไม้เฉพาะในเวลากลางคืน และออกหากินตัวเดียว เว้นแต่ตัวที่มีลูกอ่อนจะเอาลูกเกาะติดอกไปด้วย กลางวันจะซ่อนหน้าเพื่อหลบแสงสว่าง โดยใช้ใบไม้บังหรืออยู่ในโพรงไม้

เมื่อมีอายุ 2 ปีจึงผสมพันธุ์ได้ เป็นสัดนาน 5–6 เดือน และมีทุกระยะ 37–45 วัน ตั้งท้องประมาณ 193 วัน ออกลูกปีละ 2 ครั้ง ปกติออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกอ่อนจะอยู่กับแม่จนตัวเกือบเท่าแม่จึงจะแยกออกไปหากินเอง ซึ่งกินเวลานานราว 6–9 เดือน และมีอายุยืนประมาณ 10 ปี



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา











ลิงวอก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม






Rhesus Macaque

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Macaca mulatta



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ลำตัวส่วนหลังสีน้ำตาล ส่วนอื่นเป็นสีน้ำตาลเทา หางสั้นประมาณครึ่งหนึ่งของลำตัว โคนหางค่อนข้างใหญ่และเรียวเล็กลงไปทางปลายหาง แต่หางสั้นกว่าลิงแสม ขนบริเวณสองข้างแก้มม้วนวนเป็นก้นหอย





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พนในประเทศไทย พม่า อินเดีย อัสสัม เนปาล อัฟกานิสถาน จีน และอินโดจีน ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ

ลิงวอกกินผัก ผลไม้ ใบไม้อ่อน แมลงต่างๆ รวมทั้งสัตว์เล็กๆ เป็นอาหาร



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

เป็นลิงที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ มีตัวผู้แก่เป็นจ่าฝูง ชอบอยู่ตามป่าที่มีโขดหิน หรือหน้าผาและเป็นป่าที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ออกหากินบริเวณใกล้เคียงกับที่อาศัย ชอบลงมาเดินบนพื้นดิน เป็นลิงที่เชื่องและไม่ค่อยกลัวคน

ลิงวอกเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3-4 ปี ระยะตั้งท้องนาน 5-7 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา






แหล่งอ้างอิง:http://www.moohin.com/animals