วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พันธุ์เสือ





เสือโคร่ง



Tiger

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Panthera tigris



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นเสือชนิดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนสีเหลืองปนเทาหรือเหลืองปนน้ำตาล มีลายดำยาวพาดขวางทั้งตัว หางก็มีลายดำพาดขวางเช่นกัน ดูคล้ายเป็นปล้อง ๆ ปลายหางดำ หลังหูดำและมีจุดสีขาวนวลใหญ่เห็นได้ชัด





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบตั้งแต่ไซบีเรียจนถึงทะเลแคสเปียน อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบอยู่ทุกภาค และมีชุกชุมในป่าแถบแนวเทือกเขาตะนาวศรี และที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

เสือโคร่งกินสัตว์ป่าทุกชนิด โดยเฉพาะหมูป่าและกวางเป็นเหยื่อที่ชอบกินมาก



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ว่ายน้ำและขึ้นต้นไม้ได้ แต่ปกติไม่ชอบขึ้นต้นไม้ ชอบน้ำมากกว่าเสือชนิดอื่น วันที่อากาศร้อนแช่อยู่ในน้ำได้นานเป็นชั่วโมง

เสือโคร่งโดยปกติไม่อยู่เป็นคู่ นอกจากใจช่วงผสมพันธุ์ ปกติตัวเมียจะเป็นสัตว์ทุก 50 วัน และเป็นสัดอยู่นาน 5 วัน ซึ่งในระยะนี้ตัวผู้จะเข้ามาอยู่ด้วย มีระยะตั้งท้องนาน 105-110 วัน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา













เสือโคร่งเบงกอล






Bengal Tiger(Indian Tiger)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pantheras tigris



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ลำตัวมีสีเหลืองปนเทา หรือสีเหลืองปนน้ำตาล มีลายแถบปรากฏบนหลังและด้านข้างลำตัวต่างกัน ขนใต้ท้อง คางและคอเป็นสีขาว ขนเหนือตามีสีขาว และมีแถบสีดำ หางมีแถบสีดำเป็นบั้งตั้งแต่โคนหางถึงปลายหาง ปลายหางมีสีดำ หลังหูดำ และมีจุดสีขาวนวลใหญ่เห็นได้ชัด





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในอินเดีย เนปาล บังคลาเทศ และพม่า

เสือโคร่งเบงกอลกินเนื้อสัตว์ทุกชนิด โดยเฉพาะ หมูป่า และกวาง



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

เสือโคร่งจะทำการกำหนดอาณาเขตโดยการข่วนรอยไว้ตามต้นไม้ การปัสสาวะก็เป็นอีกวิธีหนึ่งเพื่อบอกอาณาเขต โดยปกติแล้วเสือโคร่งเป็นสัตว์ที่จะออกล่าเหยื่อก็ต่อเมื่อมันหิว และจะไม่ล่าเหยื่อที่ใหญ่กว่าตัวมันเอง เนื่องจากมีความเสี่ยง และอาจไม่ประสบความสำเร็จในการล่า สำหรับช่วงฤดูการผสมพันธุ์เสือโคร่งจะอาศัยอยู่เป็นคู่

เสือโคร่งไม่อยู่เป็นคู่ นอกจากฤดูผสมพันธุ์ เป็นสัดนานประมาณ 3-6 วัน ผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 30-36 เดือนขึ้นไป ผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ตั้งท้องนาน 95-105 วัน ออกลูกครั้งละ 2-5 ตัว และแม่เสือจะเลี้ยงลูกเสือจนโตอายุประมาณ 2 ปี จึงจะแยกจากกัน



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เชียงใหม่














เสือจากัวร์






Jaguar

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Panthera onca



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นเสือขนาดใหญ่รองลงมาจากเสือโคร่ง ขนสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง มีจุดดำทั้งตัว บริเวณกลางลำตัวมีจุดดำเป็นหมู่ๆ หลังหูดำและมีจุดสีนวลที่หลังหู





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในทวีปอเมริกาใต้

เสือจากัวร์กินสัตว์ป่าทุกชนิดที่จับได้ เช่น กวาง หมู ลิง นกยูง สุนัข รวมทั้งแมลง



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อยู่ในป่าได้ทุกชนิด ทั้งป่าทึบ ป่าโปร่ง และป่าที่มีโขดหิน ทนร้อนได้ดี ไม่ชอบลงเล่นน้ำ ชอบอยู่โดดเดี่ยว จะอยู่เป็นคู่ในฤดูผสมพันธุ์

เสือจากัวร์มีระยะตั้งท้อง 90-105 วัน ให้ลูก 1-4 ตัว เป็นวัยเจริญพันธุ์ เมื่อมีอายุ 2-3 ปี และมีอายุยืนประมาณ 22 ปี



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่

 
 
 
 
 
 




เสือชีต้า






Cheetah

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Acinonyx jubatus



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นเสือรูปร่างเพรียว มีขนาดเล็กกว่าเสือดาวเล็กน้อย ขายาว มีขนหยาบสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลืองอมแดง ตามลำตัวมีลายเป็นจุดสีดำ ปลายหางหนึ่งในสามมีวงแหวนสีดำ ปลายสุดเป็นสีขาว มีเส้นสีดำจากใต้หัวตามามุมปากทั้งสองข้าง หูเล็กกลม ขนท้ายทอยยาวตั้งขึ้นเป็นแผง คอสั้น เป็นเสือที่วิ่งเร็วที่สุด สามารถวิ่งได้เร็วถึง 100-110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง





ถิ่นอาศัย, อาหาร

มีถิ่นอาศัยอยู่ในแอฟริกา ในทะเลทรายซาฮารา แทนซาเนีย นามีเบีย ในเอเชีย พบในเอเชียไมเนอร์ เตอร์กีสถาน และอินเดีย แต่ในอินเดียปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว

ปกติเสือชีต้าล่าเหยื่อขนาดปานกลางเช่น แอนติโลป กาเซลล์ อิมพาล่า วอเตอร์บัค สำหรับเหยื่อขนาดใหญ่อย่างม้าลาย ก็ล่าได้เช่นกัน นอกจากนี้ก็ล่ากระต่ายป่า นก รวมทั้งแพะแกะด้วย



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าแห้งแล้ง ปีนต้นไม้ไม่เก่ง ใช้การถ่ายปัสสาวะเป็นเครื่องกำหนดอาณาเขต ชอบล่าเหยื่อเป็นกลุ่มเล็กๆ

เสือชีต้าเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 90-95 วัน ออกลูกครั้งละ1-8 ตัว



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์นครราชสีมา





 
 
 




เสือดาว,เสือดำ






Leopard(Panter)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Panthera pardus



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เสือดาวและเสือดำเป็นเสือมีขนาดใหญ่รองลงมาจากเสือโคร่ง เสือดาวมีขนสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง มีจุดดำทั้งตัว แต่บริเวณกลางตัวมีจุดดำเป็นกลุ่มๆ ที่เรียกกันว่า "รอยขยุ้มตีนหมา" หลังหูดำ มีจุดสีขาวนวลที่หลังหูเหมือนเสือโคร่ง ส่วนเสือดำนั้นมีขนาดและรูปร่างเหมือนเสือดาวทุกประการ แต่มีสีดำตลอดตัว





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในแอฟริกาและเอเชีย ตั้งแต่แมนจูเรียลงมาถึงอินโดจีน ไทย มาเลเซีย และชวา สำหรับประเทศไทยพบตามป่าทั่วไปแต่พบมากทางภาคใต้

กินสัตว์ป่าทุกชนิดที่จับได้ เช่น หมู กวาง ลิง นกยูง สุนัข และแมลง บางครั้งปู ปลาก็กิน



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อยู่ในป่าได้ทุกชนิด ทั้งป่าทึบ ป่าโปร่งและป่าที่มีโขดหิน ทนร้อนได้ดีกว่าเสือโคร่งไม่ชอบอาบน้ำอย่างเสือโคร่ง ขึ้นต้นไม้เก่งกว่าเสือโคร่ง เป็นสัตว์ที่ว่องไวและดุ ปกติแล้วอยู่ตามลำพังตัวเดียว จะอยู่เป็นคู่ในระยะผสมพันธุ์เท่านั้น ชอบกระโดดจากต้นไม้เพื่อจับเหยื่อบนพื้นดิน และลากเหยื่อขึ้นต้นไม้เพื่อกันไม่ให้สัตว์อื่นมาแย่ง

เสือดาวและเสือดำผสมพันธุ์ได้ตลอดปี และไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน ระยะเป็นสัดนาน 3-14 วัน ระยะตั้งท้องนาน 98-105 วัน ออกลูกครั้งละ 1-5 ตัว ลูกหย่านมเมื่อมีอายุ 6 สัปดาห์ และมีอายุยืนราว 20 ปี



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา











เสือดาว,เสือดำ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม






Leopard(Panter)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Panthera pardus



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เสือดาวและเสือดำเป็นเสือมีขนาดใหญ่รองลงมาจากเสือโคร่ง เสือดาวมีขนสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง มีจุดดำทั้งตัว แต่บริเวณกลางตัวมีจุดดำเป็นกลุ่มๆ ที่เรียกกันว่า "รอยขยุ้มตีนหมา" หลังหูดำ มีจุดสีขาวนวลที่หลังหูเหมือนเสือโคร่ง ส่วนเสือดำนั้นมีขนาดและรูปร่างเหมือนเสือดาวทุกประการ แต่มีสีดำตลอดตัว





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในแอฟริกาและเอเชีย ตั้งแต่แมนจูเรียลงมาถึงอินโดจีน ไทย มาเลเซีย และชวา สำหรับประเทศไทยพบตามป่าทั่วไปแต่พบมากทางภาคใต้

กินสัตว์ป่าทุกชนิดที่จับได้ เช่น หมู กวาง ลิง นกยูง สุนัข และแมลง บางครั้งปู ปลาก็กิน



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อยู่ในป่าได้ทุกชนิด ทั้งป่าทึบ ป่าโปร่งและป่าที่มีโขดหิน ทนร้อนได้ดีกว่าเสือโคร่งไม่ชอบอาบน้ำอย่างเสือโคร่ง ขึ้นต้นไม้เก่งกว่าเสือโคร่ง เป็นสัตว์ที่ว่องไวและดุ ปกติแล้วอยู่ตามลำพังตัวเดียว จะอยู่เป็นคู่ในระยะผสมพันธุ์เท่านั้น ชอบกระโดดจากต้นไม้เพื่อจับเหยื่อบนพื้นดิน และลากเหยื่อขึ้นต้นไม้เพื่อกันไม่ให้สัตว์อื่นมาแย่ง

เสือดาวและเสือดำผสมพันธุ์ได้ตลอดปี และไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน ระยะเป็นสัดนาน 3-14 วัน ระยะตั้งท้องนาน 98-105 วัน ออกลูกครั้งละ 1-5 ตัว ลูกหย่านมเมื่อมีอายุ 6 สัปดาห์ และมีอายุยืนราว 20 ปี



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา














เสือปลา






Fishing Cat

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Prionailurus viverrinus



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

รูปร่างคล้ายแมวบ้านแต่ตัวโตกว่า หน้าสั้น ขาสั้น หางสั้นกว่าครึ่งของลำตัว ใบหูกลม มีขนสีเทาแกมน้ำตาล มีลายสีน้ำตาลแกมดำสั้นๆเรียงเป็นแนวตามตัว





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในเนปาล อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดจีน เกาะสุมาตรา และชวา สำหรับประเทศไทยพบตามป่าต่ำทั่วไปซึ่งอยู่ใกล้หนองน้ำลำธาร

กินแมลงและสัตว์เล็กต่างๆเป็นอาหาร เช่น ปู กบ เขียด นก หนู และหอย แต่ปลาเป็นเหยื่อที่เสือปลาชอบมากที่สุด



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ใกล้น้ำ หากินริมน้ำ หาปลากินโดยดักปลาที่เข้ามาหากินตามแหล่งน้ำตื้น สามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้ เสือปลาเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนานประมาณ 63 วัน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว ลูกเสือปลาหย่านมเมื่อมีอายุเกินกว่า 6 เดือน และมีอายุยืนราว 20 ปี

เสือปลาเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนานประมาณ 63 วัน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว ลูกเสือปลาหย่านมเมื่อมีอายุเกินกว่า 6 เดือน และมีอายุยืนราว 20 ปี



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์สงขลา













เสือไฟ






Asiatic Golden Cat(Temminck's Cat)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Profelis temmincki



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

รูปร่างเพรียว สูงใหญ่ขนาดสุนัขพื้นเมือง ขายาว มีขนสีน้ำตาลแกมแดง ไม่มีลายและจุดดำตามตัว แต่มีเส้นดำ 2-3 เส้นวิ่งตามยาวลงมาที่หน้าผาก ไม่มีจุดขาวที่หลังหู ด้านบนของหางมีสีน้ำตาลเข้ม แต่ตรงปลายหางด้านล่างเป็นสีขาวเห็นได้ชัด เสือไฟเวลาเดินจะยกหางขึ้นข้างบน





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในธิเบต เนปาล สิกขิมตลอดจนจีนตอนใต้ พม่า ไทย และอินโดจีนจนถึงมาเลเซียและสุมาตรา สำหรับประเทศไทย พบทั้งในป่าผลัดใบและป่าดงดิบทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะแนวป่าทางทิศตะวันตกติดประเทศพม่าลงไปทางใต้

เสือไฟกินสัตว์เล็กๆเช่น กระต่าย กวางเล็ก ๆ นกยูง เก้ง กิ้งก่า เป็ด ไก่



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอยู่ตามป่าทั่วไปหรือป่าโปร่ง ปกติชอบอยู่บนพื้นดิน ไม่ชอบขึ้นต้นไม้ แต่สามารถขึ้นต้นไม้ได้ดีเมื่อจำเป็น ดุเมื่อจวนตัว ถ้านำมาเลี้ยงแต่เล็กจะเชื่องง่าย

เสือไฟสามารถเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 95 วัน ออกลูกครั้งละ 1-2 ตัว มีอายุยืนประมาณ 18 ปี



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา





 
 
 
 
 




เสือลายเมฆ






Clouded Leopard

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Neofelis nebulosa



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ตัวมีสีน้ำตาลแกมเขียวและมีลายเป็นวงใหญ่คล้ายก้อนเมฆ หูด้านในมีสีอ่อน ด้านนอกเป็นสีเข้มและมีจุดขาวที่หลังหู หน้าผากมีจุดสีเข้มหลายจุด หางยาวใหญ่มากและมีจุดตลอดหาง ขาค่อนข้างสั้นและเท้าใหญ่





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในเนปาล สิกขิมไปทางตะวันออกจนถึงตอนใต้ของประเทศจีนและไต้หวัน ลงมาถึงพม่า ไทย มาเลเซีย บอร์เนียว และสุมาตรา ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค

เสือลายเมฆกินสัตว์เล็กเช่น นก งู ลิง ค่าง จนถึงลูกสัตว์ใหญ่



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอยู่และหากินบนต้นไม้มากกว่าบนพื้นดิน มักนอนบนกิ่งไม้เพื่อกระโดดลงมาจับสัตว์กิน หากินเวลากลางคืน มักอยู่เป็นคู่ช่วยกันล่าเหยื่อ

เสือลายเมฆเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2-3 ปี ระยะตั้งท้องนาน 90-95 วัน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว ลูกหย่านมเมื่ออายุ 5 เดือน มีอายุยืนราว 17 ปี



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา







แหล่งอ้างอิง:http://www.moohin.com/animals/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น