วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รายชื่อสัตว์ปีก (ฺBirds)



ไก่ต๊อก สัตว์ปีก






Helmuted Guinea Fowl

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Numida meleagris



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ไก่ต๊อกเป็นไก่ขนาดกลาง ขนลำตัวส่วนใหญ่มีสีเทาอมดำ แต้มด้วยจุดสีขาวเล็ก ๆ ส่วนหัวและคอไม่มีขน ขนหัวมีปุ่มกระดูกรูปสามเหลี่ยม ตรงโคนจะงอยปากมีสีแดง บริเวณใบหน้าเป็นเนื้อสีขาว และมีปีกสั้น





ถิ่นอาศัย, อาหาร

ไก่ต๊อกชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงจำนวน 10-100 ตัว มักเดินหากินอยู่ตามพื้นมากกว่าอยู่บนต้นไม้ ยกเว้นเวลาตกใจจะบินได้เตี้ย ๆ

ไก่ต๊อกกินอาหารจำพวกเมล็ดพืช รากไม้ หญ้า และแมลงตามพื้นเป็นอาหาร



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

เดิมเป็นสัตว์พื้นเมืองของประเทศแอฟริกา ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลก เพราะนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่นหรือกินไข่





สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา












ไก่ป่า (ไก่เถื่อน) สัตว์ปีก






Red Junglefowl

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Gallus gallus



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นนกขนาดกลาง ลำตัวยาว 43 - 76 เซนติเมตร ในประเทศไทยมี 2 ชนิดย่อย คือไก่ป่าตุ้มหูขาวและไก่ป่าตุ้มหูแดง ไก่ป่าตุ้มหูขาวตัวผู้มีตุ้มหูสีขาว หน้าและหงอนขนาดใหญ่มีสีแดงสด หัว คอ ปีก และหลังมีสีเหลืองสลับแดง ท้องดำ หางสีดำเหลือบเขียว หางคู่กลางยื่นยาวกว่าหางเส้นอื่น ไก่ตัวเมียมีสีน้ำตาลเรียบ ๆ ออกเทา หางสั้นและมีหงอนเล็กมาก ส่วนไก่ป่าตุ้มหูแดงตัวผู้จะมีตุ้มหูสีแดง





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในเอเชียตอนใต้ ตั้งแต่เชิงเขาหิมาลัย ลงมายังปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ พม่า ไทย อินโดจีน จีนตอนใต้ มาเลเซีย สุมาตรา ชวาและ บาหลี

อาหารได้แก่ แมลง เมล็ดพืช ลูกไม้สุกและดอกหญ้า



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อาศัยตามป่าไผ่ ป่าดิบแล้ง และป่ารอยต่อระหว่างป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง หากินเป็นกลุ่มเล็ก ๆ อยู่ตามพื้นป่า ตัวผู้ไม่ชอบร้องเหมือนตัวเมีย ในฝูงหนึ่งจะมีตัวผู้คุมตัวเมียหลายตัว ตัวผู้มักขันเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะในช่วงตอนเช้าและพลบค่ำ หากินเวลากลางวัน ตามพื้นดิน บินได้ไม่ไกลและไม่สูงมาก

ไก่ป่าผสมพันธุ์ในฤดูร้อน สร้างรังอยู่ตามพื้นดินตามกอหญ้า กอไผ่ วางไข่ 6 - 12 ฟอง ระยะฟักไข่ 21 วัน ลูกไก่แรกเกิดมีขนอุยสีเหลืองสลับลายดำทั่วลำตัว เมื่อขนแห้งก็เดินตามแม่ไปหากินได้ทันที



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นนกประจำถิ่นที่พบบ่อย และปริมาณปานกลาง ไก่ป่าตุ้มหูขาวพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง คือเลียบชายแดนประเทศกัมพูชา ตั้งแต่จังหวัดตราด ไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนไก่ป่าตุ้มหูแดง พบทางด้านตะวันตก ตั้งแต่ภาคใต้ขึ้นมาเลียบชายแดนประเทศพม่า จรดภาคเหนือ และตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา











ไก่ฟ้าพญาลอ สัตว์ปีก






Siamese Fireback(Siamese Fireback Pheasant)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Lophura diardi



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นนกขนาดกลาง - ใหญ่ ความยาววัดจากปลายปากถึงปลายหาง ประมาณ 60 - 82 เซนติเมตร มีสีสันสวยงามมาก ตัวผู้หัวสีน้ำเงิน ขนหงอนมีลักษณะคล้ายใบพายและมีสีน้ำเงินเช่นเดียวกัน แต่จากท้ายทอยลงมาถึงหลังและปีกมีสีเทา เมื่อกางปีกออกจะเห็นหลังตอนท้ายซึ่งมีสีเหลืองอมแดงวาว ลำตัวตอนล่างสีน้ำเงินจาง หางสีน้ำเงินดำวาวตลอดหาง ตัวเมียโดยทั่วไปมีขนเป็นสีน้ำตาล แต่ปีกเป็นสีน้ำตาลดำมีลายขวางสีขาว ขนหงอนบนหัวสีน้ำตาลแก่ ทั้งตัวผู้ ตัวเมียขามีสีน้ำตาลเข้ม หน้าและเหนียงเป็นแผ่นหนังสีแดง ตัวผู้จะยืดเหนียงออกมายาวเมื่อเวลาเกี้ยวพาราสีตัวเมียทำให้ดูสวยงามมาก





ถิ่นอาศัย, อาหาร

มีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของแคว้นอัสสัม อินโดจีน ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม สำหรับประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เป็นนกประจำถิ่นที่หายาก พบได้น้อย

อาหารได้แก่ เมล็ดพืช ผัก ผลไม้ แมลง ไข่มด และตัวหนอน โดยการคุ้ยเขี่ยตามพื้นดินแล้วใช้ปากจิกหาอาหาร



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอยู่เป็นคู่ หรือครอบครัวเล็ก ๆ อาศัยอยู่ตามป่าที่รกทึบ หรือ ป่าไผ่ไม่ชอบที่โล่งแจ้ง ไม่ค่อยตื่นคน ทำให้มองเห็นได้ง่าย หากินในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืนมักจะจับคอนนอนตามกิ่งไม้ ไก่ฟ้าพญาลอบินได้ดีพอสมควร แต่ไปไม่ไกลและไม่สูงนัก

ไก่ฟ้าพญาลอเมื่ออายุเข้าปีที่ 3 จึงเริ่มผสมพันธุ์ได้ ผสมพันธุ์ช่วงฤดูร้อน ทำรังบนพื้นดินที่เป็นแอ่งตื้นใต้พุ่มไม้หนา ปูด้วยใบไม้ใบหญ้า บางครั้งอาจวางไข่ตามโพรงหรือซอกไม้ ออกไข่ครั้งละ 5 - 8 ฟอง ไข่วันเว้น 2 วัน ระยะฟักไข่ 24 - 25 วัน



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นนกประจำถิ่น หายาก พบได้น้อย และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535สวนสัตว์ดุสิต



สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา







 



ไก่ฟ้าเลดี้แอมเฮิรสท์ สัตว์ปีก






Lady Amherst's Pheasant

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Chrysolophus amherstiae



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ไก่ฟ้าเลดี้เป็นไก่ฟ้าขนาดกลาง ใกล้เคียงกับไก่ฟ้าสีทอง ขนลำตัวและปีกสีน้ำเงินอมเขียว ใต้คางและคอสีเขียว ด้านหลังคอมีลายเส้นสีดำ มองดูคล้ายเกล็ดปลาคาดตามขวาง หางยาวมีลายเขียวคล้ำคาดตามขวาง บนกระหม่อมมีสีน้ำเงิน หงอนสีแดง ใต้ลำตัวสีขาว จะงอยปากสีเหลืองอมเขียว





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในประเทศจีน อยู่บนเทือกเขาทางตอนกลางซีกตะวันตกของแผ่นดินจีน

อาหารได้แก่ เมล็ดพืชและผักผลไม้ต่าง ๆ



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์







สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา



 
 
 
 



ไก่ฟ้าสวินโฮว์ สัตว์ปีก






Swinhoe's Pheasant

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Lophura swinhoei



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ตัวผู้จะมีความสวยงามมาก ลำตัวของตัวผู้จะปกคลุมไปด้วยขนสีน้ำเงินเงามันเกือบทั้งตัว ยกเว้นบริเวณไหล่ช่วงหลังจะมีกลุ่มขนสีขาว และบริเวณหัวจะมีขนสีขาวคล้ายขนจุกอยูกลางหัว ซึ่งคือขนหงอนนั่นเอง และขนหางกะลวย (ขนหางเส้นกลาง 2 เส้นมีสีขาวยาวมาก) ขนหางเส้นอื่นเป็นสีน้ำเงินเข้ม ขนบริเวณไหล่มักจะเป็นสีแดงสดตัดกับขนตัวสีน้ำเงิน และหนังหน้าจะเป็นสีน้ำตาลแดง ปากจะเป็นสีเหลือง ขาแข้งจะเป็นสีแดง เดือยยาวและแหลม ส่วนตัวเมียมีขนสีน้ำตาลปกคลุมลำตัว และไม่มีขนหงอน บริเวณหลังและปีกจะเป็นสีน้ำตาลแดง ปลายขนจะเป็นสีดำ ส่วนที่หน้าและคอเป็นสีเทา ขนของหน้าอกและท้องมีลายรูปตัววีสีดำกระจายอยู่ทั่วไป หนังรอบตาเป็นสีน้ำตาลจืด ๆ ปากสีเหลืองเหมือนตัวผู้ แต่โคนปากจะเป็นสีดำ แข้งก็เลียนแบบตัวผู้ คือ มีสีแดง





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในทวีปเอเซีย เกาะไต้หวัน เกาะฟอร์โมซา

อาหารได้แก่ เมล็ดพืช ผัก แมลง



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อาศัยอยู่ตามป่าบนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึงระดับ 7,000 ฟุต และมีรายงานน้อยมากเกี่ยวกับนิสัยความเป็นอยู่ของมันในธรรมชาติ

เป็นไก่ฟ้าที่ออกไข่เร็วกว่าชนิดอื่น โดยวางไข่ครั้งละ 6-12 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 25 วัน ลูกไก่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ตัวผู้จะมีขนสวยสมบูรณ์และผสมพันธ์ได้เมื่ออายุ 2 ปี แต่มีผู้เลี้ยงผสมพันธุ์ได้ภายในปีแรกทั้งสองเพศ ซึ่งเป็นเรื่องค่อนข้างแปลกสำหรับไก่ฟ้าในตระกูลนี้



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่

 
 
 
 
 




นกกก(นกกาฮัง, นกกะวะ หรือ นกอีฮาก) สัตว์ปีก






Great Hornbill(Great Indian Hornbill)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Buceros bicornis



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

นกกกหรือนกกาฮัง เป็นนกที่มีขนาดใหญ่มากและใหญ่ที่สุดในจำพวกนกเงือกของไทย โดยมีขนาดลำตัว 122 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียโดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่า และต่างกันตรงที่ตัวผู้มีตาสีแดงทับทิม โหนกมีสีดำที่ด้านหน้าและด้านท้าย ตัวเมียตาสีซีดหรือสีขาว และไม่มีสีดำที่โหนก จากกลางโหนกของนกกกลงมามีสีเหลืองอ่อนปนสีส้ม สีนี้เกิดจากต่อมน้ำมันที่ก้น เมื่อนกตายลงสีนี้จะหายไปด้วย ตอนเช้าและตอนเย็นชอบร้องเสียงดัง กก กก หรือ กาฮัง กาฮัง





ถิ่นอาศัย, อาหาร

มีถิ่นกำเนิดในอินเดียตะวันตกเฉียงใต้ ตลอดถึงพม่า ไทย และเกาะสุมาตรา สำหรับประเทศไทยมีทั่วไปเกือบทุกภาคยกเว้นภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน และเคยมีมากที่เกาะตะรุเตา ชนิดย่อย homrai พบบริเวณภาคเหนือ ชนิดย่อย biconnis พบทางภาคใต้

นกกกกินผลไม้สุก เช่น กล้วย มะละกอ มะเดื่อ ไทร มะปางป่า และสัตว์เล็ก ๆ เช่น กิ้งก่า แย้ หนู งู โดยเอาหางจับฟาดกับกิ่งไม้ให้ตายก่อน แล้วเอาปากงับตลอดตัวให้เนื้อนิ่มกระดูกแตก แล้วโยนขึ้นไปในอากาศ อ้าปากรับให้สัตว์นั้นเข้าไปในปากแล้วกลืนลงไป



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง และป่าดงดิบเขา ซึ่งมีต้นไม้สูง ๆ ชอบอยู่กันเป็นฝูงเล็ก ๆ ฤดูผสมพันธุ์จะอยู่กันเป็นคู่ ๆ ชอบกระโดดหรือร้อง ขณะหากินร้องเสียงดังมาก เวลาบินจะกระพือปีกสลับกับร่อน เสียงกระพือปีกดังคล้ายเสียงหอบ ปกติจะเกาะตามกิ่งไม้ โดยเฉพาะต้นไม้ผลในป่า บริเวณต้นที่มีผลสุกชนิดที่ชอบ มันจะมากินทุกวันจนผลไม้หมด จึงไปหากินที่ต้นอื่น

นกกกผสมพันธุ์ในหน้าหนาวจนถึงหน้าร้อน วางไข่ตามโพรงไม้สูง วางไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง ก่อนวางไข่ตัวเมียจะเข้าไปในโพรงแล้วทำการตบแต่งโพรงก่อน ตัวผู้คาบดินผสมกับมูลของตัวเมียโบกปิดปากโพรง หรืออาจใช้อาหารที่กินเข้าไปแล้วสำรอกออกมาเพื่อปิดปากโพรง เหลือช่องไว้ตรงกลางพอให้ตัวเมียยื่นปากออกมาได้ ขณะที่ตัวเมียกกไข่และเลี้ยงลูกอยู่นี้ ตัวผู้จะหาอาหารมาเลี้ยงลูกและเมียของมัน ตัวเมียจะผลัดขนออกและขนขึ้นใหม่เต็ม ซึ่งกินเวลาพร้อมๆไปกับลูกของมันมีขนขึ้นเต็ม เมื่อขนขึ้นเต็มตัวเมียจะจิกปากโพรงออกแล้วหัดบินพร้อมกับลูก



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา










นกกระจอกเทศ สัตว์ปีก






Ostrich

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Struthio camelus



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นนกใหญ่ที่สุดในโลก มีทั้งหมดด้วยกัน 6 ชนิด แยกกันโดยขนาดและสีของผิวหนัง มีความสูงเฉลี่ย 2.5 เมตร หนักถึง 160 กิโลกรัม มีปีกเล็กบินไม่ได้ แต่ขาใหญ่แข็งแรง มีนิ้วเท้าข้างละ 2 นิ้ว วิ่งเร็วได้ถึง 64 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตัวผู้ขนทั่วตัวสีดำ แต่ขนพวงปลายปีกหางเป็นสีขาว นกกระจอกเทศมีขนบริเวณลำตัว ปีก และหางเท่านั้น ส่วนหัว คอ และขาไม่มีขนเลย ตัวเมียขนสีน้ำตาลคล้ำ





ถิ่นอาศัย, อาหาร

อยู่ในทวีปแอฟริกา โดยมีการกระจายตัวตั้งแต่ประเทศเซเนกัลไปจนถึงเอธิโอเปีย

อาหารได้แก่ แมลง หญ้า ใบไม้ ผลไม้บางชนิดและเมล็ดพืช



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบหากินในทุ่งกว้างรวมกันเป็นกลุ่ม อยู่ร่วมกับฝูงม้าลายและยีราฟ เพื่อคอยดักกินแมลงและสัตว์เลื้อยคลานเล็กๆ ที่ตื่นตกใจจากการกินหญ้าของสัตว์เหล่านั้น ป้องกันตัวโดยใช้เท้าเตะ เป็นนกที่มีการระแวดระวังภัยมาก ทำให้หลบหลีกพวกสัตว์กินเนื้อได้ดี

นกกระจอกเทศตัวผู้ตัวหนึ่งคุมตัวเมียได้หลายตัว ตัวเมียจะออกไข่ในที่เดียวกันประมาณ 30-40 ฟอง หรือมากกว่า ไข่นกกระจอกเทศใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาด 6-8 นิ้ว หนักกว่า 1 กก. ฟักไข่นาน 6 สัปดาห์ โดยตัวเมียจะฟักไข่ตอนกลางวัน และตัวผู้จะฟักไข่ตอนกลางคืน ลูกนกโตเร็วมาก และโตเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ปี



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา












นกกระตั้ว เมเจอร์ มิชเชล สัตว์ปีก






Major Mitchell's Cockatoo

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Cacatua leadbeateri



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

นกกระตั้วชนิดนี้ได้ตั้งชื่อตามผู้ค้นพบคนแรก แบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ 2 ชนิด มีความแตกต่างกันทั้งขนาดลำตัวและสีของหงอนบนหัว นกชนิดแรกคือ C.l. leadbeateri (Vigors) มีขนาดใหญ่กว่าคือ ประมาณ 38 เซนติเมตร จะอาศัยอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลียส่วนชนิดที่สองคือ C.l. mollis (Mathens) จะอาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป ปัจจุบันได้รับการคุ้มครองดูแลสถานภาพโดยกฏหมายของรัฐ เพื่อป้องกันการดักจับนกไปขาย ส่วนใหญ่นกจะดำรงชีวิตหากินบนพื้นดินตลอดวัน





ถิ่นอาศัย, อาหาร

อาศัยอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลีย





พฤติกรรม, การสืบพันธุ์







สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์สงขลา














นกกระตั้วดำ สัตว์ปีก






Black Cockatoo

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Probosciger aterrimus goliath



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

นกกระตั้วเพศผู้และเพศเมียจำแนกได้โดยพิจารณาจากสีคือ นกเพศผู้ขนทั่วตัวมีสีน้ำตาลปนดำ ใต้คอปลายขนมีขอบสีเขียว ส่วนบริเวณหูมีสีเหลือง ปากสีเทา ขาสีน้ำตาล ม่านตาสีน้ำตาล ส่วนนกเพศเมียขนบริเวณส่วนหูจะมีสีเหลืองจางกว่าเพศผู้ และจะมีลักษณะเด่นของจุดสีเหลืองๆ บริเวณขนหาง เปลือกตาสีเทา





ถิ่นอาศัย, อาหาร







พฤติกรรม, การสืบพันธุ์



นกชนิดนี้จะมีระยะเวลาในการฟักไข่ประมาณ 30 วัน



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา









นกกระตั้วดำหางขาว สัตว์ปีก






White-tailed Black Cockatoo

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Calyptorhynchus baudinii



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

บริเวณสีขนตรงตำแหน่งหูจะมีสีขาวและสีเทา สีขนใต้หางจะมีสีขาวปนเทาเข้ม ขนบริเวณใต้คอลงมาปลายขนมีขอบสีเทาปนดำ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เป็นลักษณะเด่นที่ใช้ในการจำแนกนกชนิดนี้





ถิ่นอาศัย, อาหาร

นกกระตั้วดำหางขาว เป็นชนิดพันธุ์ย่อยของนกกระตั้วดำ อาศัยอยู่ในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้และทางตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย





พฤติกรรม, การสืบพันธุ์



ระยะฟักไข่ เหมือนกันกับนกกระตั้วดำอื่นๆ คือ ประมาณ 30 วัน



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

 
 
 
แหล่งอ้างอิง:http://www.moohin.com/animals/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น