วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พันธุ์เป็ด




เป็ดดำหัวดำ






Baer's Pochard

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Aythya baeri



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ขนปลายปีกด้านนอกเป็นสีดำ ตัวผู้บริเวณหัวและลำคอมีสีดำเหลือบเขียว ตาสีขาวหรือแดง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเข้มออกดำ อกสีน้ำตาลเข้ม ท้องตอนหน้าสีขาวส่วนท้องตอนท้ายสีเทา ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีขาว สีข้างสีน้ำตาลแดงเห็นเป็นแถบ ๆ ตัวเมียต่างจากตัวผู้ตรงที่สีทึมกว่า อกสีน้ำตาลแดงเข้มกว่า หัวและลำคอสีน้ำตาลแกมดำ ตาสีน้ำตาล





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในรัสเซียด้านตะวันออก จีนด้านตะวันออก อินเดีย พม่า และไทย

เป็ดดำหัวดำหาอาหารด้วยการดำน้ำหรือว่ายน้ำ อาหาร ได้แก่ ปลา กุ้ง สัตว์น้ำ และพืชน้ำ



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ บางครั้งพบตามป่าชายเลน พบอยู่โดดเดี่ยวหรือฝูงเล็ก ๆ เป็ดดำหัวดำสามารถบินได้ดีและบินได้ไกล มันว่ายและดำน้ำได้ดีมาก เวลามีสิ่งรบกวนหรือมีภัยมันจะดำน้ำระยะหนึ่งและจึงบินขึ้นจากน้ำ มันหากินเวลากลางคืน ส่วนกลางวันมันจะใช้เวลาส่วนใหญ่พักผ่อนตามผิวน้ำ

ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ของเป็ดดำหัวดำในประเทศไทย



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่












เป็ดแดง







Lesser Whistling-DuckLesser Treeduck

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Dendrocygna javanica



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นนกขนาดกลาง ลำตัวยาวประมาณ 40 - 43 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ขนตามตัวและปีกมีสีน้ำตาลแดง บนกระหม่อมมีสีเข้มกว่าส่วนอื่น ขนตรงปลายปีกมีสีดำ ปากแบนกว้างสีเทาดำ คอยาว ปีกยาวปลายปีกแหลม





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน ไต้หวัน อินเดีย และในประเทศไทยพบได้ทั่วไปทุกภาค

อาหารได้แก่ พืชน้ำ สัตว์น้ำจำพวก ปลา กบ ไส้เดือน



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ตามปกติชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ตามแหล่งน้ำ เช่น บ่อ หนอง คลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ บางทีเป็นฝูงมากกว่า 1,000 ตัว ปกติหากินตอนกลางคืน ส่วนตอนกลางวันจะว่ายน้ำ หรือพักผ่อนนอนหลับ ตามต้นไม้ชายน้ำ

ในฤดูผสมพันธุ์เป็ดแดงมักอยู่เป็นคู่ ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน ทำรักตามกอกก ต้นอ้อ หรือหญ้าใกล้แหล่งน้ำ รังเป็นแบบง่ายๆ โดยใช้ใบพืชสร้างรัง แล้วใช้ขนท้องตัวเองรองกลางรัง วางไข่คราวละ 9 - 13 ฟอง ไข่สีขาวไม่มีลาย ใช้เวลาฟัก 29 - 31 วัน



สถานภาพปัจจุบัน

เป็ดแดงเป็นทั้งนกประจำถิ่น และนกอพยพมาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อยและปริมาณมากทั่วทุกภาค จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา











เป็ดเทาก้นดำ







Gadwall

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Anas strepera



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ปลายหางมน ตัวผู้และตัวเมียมีสีสันแตกต่างกัน ลำตัวด้านบนและด้านข้างของตัวผู้มีสีเทา แต่บริเวณกระหม่อมและคอด้านบนจะออกเป็นสีเทาเข้มกว่า ท้องสีขาว ก้นสีดำ ปากสีเทา ขาและนิ้วสีเหลือง ตัวเมียลำตัวเป็นลายสีน้ำตาล ท้องสีขาว ปากสีเทา ด้านข้างของปากสีเหลือง เวลาเกาะลอยน้ำจะเห็นแถบสีขาวบริเวณปีกชัดเจน





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา อินเดียตอนเหนือ และจีนตั้งแต่ตอนกลางประเทศลงมาจนถึงตอนเหนือของไทย

อาหารได้แก่ พืชและสัตว์น้ำ เช่น แหน ดีปลีน้ำ สาหร่าย ปลา กุ้ง ปู หอย



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ พบอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ และอาจอยู่รวมฝูงกับเป็ดน้ำอื่น เป็ดเทาก้นดำชอบลอยหรือว่ายน้ำอยู่ในบริเวณป่ากก ป่าหญ้าที่ขึ้นอยู่ในน้ำ บางครั้งก็ว่ายน้ำในบริเวณที่ไม่มีพืช

ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ของเป็ดเทาก้นดำในประเทศไทย



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว














เป็ดไบคาล






Baikal Teal

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Anas formosa



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ตัวผู้มีหน้าผากและกระหม่อมสีดำ และมีลายบนหน้า เป็นลักษณะเฉพาะโดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ บริเวณหัวตามาถึงคอหอยและบริเวณหูมาถึงคอหอย เป็นแถบสีเนื้อแกมเหลือง โดยมีเส้นกั้นบริเวณทั้งสองเป็นเส้นสีดำลากจากใต้ตาลงมาต่อกับคอหอยสีดำ ถัดมาทางส่วนหลังของใบหน้าหรือบริเวณจากหางตาไปท้ายทอย เป็นแถบโค้งสีเขียว มีขอบสีขาวรอบแถบโค้ง ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาล อกมีลายแต้มสีม่วง ลำตัวด้านข้างสีดำ ท้องสีขาว ตัวเมียลำตัวสีน้ำตาล มีลักษณะคล้ายเป็ดปีกเขียวตัวเมีย แต่มีขนาดใหญ่กว่า บริเวณโคนปากมีจุดกลมสีขาว ด้านข้างของหัวและคอหอยมีสีจาง กระหม่อมสีเข้มกว่า





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ อินเดีย จีน ฮ่องกง เกาะไหหลำ เกาะไต้หวัน ญี่ปุ่น และไทย

อาหารได้แก่ สาหร่าย ต้นอ่อนของหญ้า กก และพืชน้ำอื่น นอกจากนี้ยังกินเมล็ดหญ้า เมล็ดข้าว แมลง และสัตว์น้ำ



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ พบอยู่เป็นฝูง จะอยู่รวมฝูงกับนกเป็ดน้ำอื่น ปกติเป็ดไบคาลหากินด้วยการว่ายบนผิวน้ำในแหล่งน้ำที่ค่อนข้างตื้น ถ้าเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่และลึกมาก มันจะว่ายอยู่เฉพาะบริเวณขอบ หากินในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันจะพักผ่อน

เป็ดไบคาลผสมพันธุ์และวางไข่บริเวณทะเลสาบไบคาลในไซบีเรีย และบริเวณใกล้เคียง ในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์มันจะอพยพลงใต้ไปยังจีน ญี่ปุ่น สำหรับในประเทศไทยไม่มีการทำรังวางไข่



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา















เป็ดปากแดง






Red-crested Pochard

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Netty



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นนกขนาดกลาง มีความยาวลำตัวประมาณ 56 เซนติเมตร ตัวผู้ขอบปีกสีขาว ส่วนตัวเมียขอบปีกสีน้ำตาล ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มีปากสีแดงและมีหัวกลมใหญ่สีส้มถึงน้ำตาลแดง กระหม่อมสีน้ำตาลเหลือง คอสีดำ ลำตัวด้านล่างสีดำ สีข้างสีขาว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ สีสันทั่วไปคล้ายตัวเมียแต่ปากยังคงเป็นสีแดง ส่วนตัวเมียหัวครึ่งบนตั้งแต่บริเวณใต้ตาขึ้นไปถึงกระหม่อมมีสีน้ำตาลเข้ม ตัดกับสีขาวของแก้มและคอหอย ปากสีเทามีแถบสีแดงใกล้ปลายปาก ปลายปากสีดำ ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ส่วนลำตัวด้านล่างสีจางกว่าด้านบนเล็กน้อย





ถิ่นอาศัย, อาหาร



อาหารได้แก่ สาหร่าย ต้นอ่อนของหญ้า กก และพืชน้ำอื่น นอกจากนี้ยังกินเมล็ดหญ้า เมล็ดข้าว แมลง และสัตว์น้ำ



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ เช่น บึง หนอง ทะเลสาบ เป็นต้น พบอยู่เป็นฝูง จะอยู่รวมฝูงกับนกเป็ดน้ำอื่น ปกติเป็ดปากแดงหากินด้วยการว่ายบนผิวน้ำในแหล่งน้ำลึก ถ้าเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่และลึกมากมันจะว่ายอยู่เฉพาะบริเวณขอบ ปกติเป็ดปากแดงจะตกใจง่าย เมื่อมีสิ่งรบกวนหรือได้ยินเสียงผิดปกติมันจะบินขึ้นเหนือน้ำทันที

ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ในประเทศไทย



สถานภาพปัจจุบัน

เป็ดปากแดงเป็นนกอพยพมาประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ หายากและปริมาณน้อยมาก พบเฉพาะภาคกลางบางแห่งเท่านั้น จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์นครราชสีมา












เป็ดปากสั้น







Eurasian Wigeon

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Anas penelope



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

มีปากสั้น หัวกลมใหญ่ และคอสั้น ปากสีเทาแกมน้ำเงิน ขาและนิ้วสีเทา ตัวผู้มีหัวสีน้ำตาลแดง กระหม่อมสีเนื้อ ขนบริเวณอื่นสีเทา คอและอกสีม่วงเข้ม ท้องสีขาว ต้นขามีลายสีขาว ขณะบินจะเห็นขนคลุมขนปีกสีขาวตัดกับขนปลายปีกสีเทาเข้มและแนวขนปีกสีเขียวอย่างชัดเจน ส่วนตัวเมียมีสีน้ำตาลแดง มีจุดและลายเล็กน้อย ท้องสีขาวชัดเจนกว่าตัวเมียของเป็ดน้ำอื่น ขณะบินจะเห็นขนคลุมขนปีกสีเทาตัดกับปีกส่วนอื่นซึ่งมีสีเข้มกว่าอย่างชัดเจน





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในในทวีปยุโรป ตอนเหนือของทวีปแอฟริกา ตอนเหนือของทวีปเอเชีย อินเดีย จีน เกาะไหหลำ เกาะไต้หวัน เกาะบอร์เนียว ฟิลิปปินส์ และเกาะนิวกินี เป็นนกอพยพในไทยพบกระจายทั่วทุกภาคยกเว้นภาคใต้ แต่มีจำนวนน้อยและพบได้ยาก

อาหารได้แก่ สัตว์น้ำและพืชน้ำ เช่น ปลา กุ้ง หอย ปู สาหร่าย ดีปลีน้ำ แหน



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ ปกติพบเป็นฝูง และอาจอยู่รวมฝูงกับเป็ดน้ำอื่น เช่น เป็ดลาย หาอาหารบริเวณผิวน้ำในเวลากลางคืน กลางวันจะลอยน้ำพักผ่อนในป่ากก ป่าจูด ป่าหญ้าตามแหล่งน้ำ เมื่อมีสิ่งรบกวนจะบินขึ้นเหนือน้ำทันที ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ของเป็ดชนิดนี้ในประเทศไทย





สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่






 
 





เป็ดเปีย






Tufted Duck

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Aythya fuligula



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ตัวผู้ลำตัวด้านบนและอกเป็นสีดำ ท้อง สีข้าง และขนปีกด้านล่างสีขาว หัวสีม่วงเข้มเกือบดำ บริเวณท้ายทอยมีกระจุกขนสีดำงอกออกมาเป็นเปียซึ่งเห็นได้ชัดเจน ส่วนตัวเมียลำตัวส่วนใหญ่สีออกน้ำตาลเข้ม สีข้างสีน้ำตาลท้องสีขาว หัวมีเปียสั้น ๆ บางตัวโคนปากมีแถบสีขาว





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกาตอนกลางและตอนเหนือ ทวีปเอเชียตอนเหนือ จีน อินเดียตอนเหนือ เกาะไต้หวัน ญี่ปุ่น พม่า ลาว เวียดนาม เกาะบอร์เนียว และฟิลิปปินส์ ในไทยพบได้ในเฉพาะภาคกลาง บริเวณบึงบอระเพ็ด

เป็ดเปียหาอาหารด้วยการว่ายและดำน้ำ อาหารได้แก่ สัตว์น้ำและพืชน้ำ



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

พบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นฝูงเล็ก ๆ รวมฝูงกับนกเป็ดน้ำชนิดอื่นตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มันสามารถบินได้ดี ว่ายและดำน้ำได้ดีมาก

ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ของเป็ดเปียในประเทศไทย



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว











เป็ดพม่า






Ruddy Shelduck(Brahminy Duck)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Tadorna ferruginea



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นนกขนาดกลาง - ใหญ่ ลำตัวยาวประมาณ 64 เซนติเมตร ลักษณะทั่วไปคล้ายห่านแต่ขายาวกว่าและคอสั้นกว่า โดยทั่วไปลำตัวเป็นสีน้ำตาลแดงแกมส้ม บริเวณหัวสีน้ำตาลอ่อน ขณะบินจะเห็นขนคลุมขนปีกสีขาวตัดกับสีดำของขนปีกทั้งด้านบนและด้านล่าง แววขนปีกสีเขียว ปากและนิ้วสีดำ ตัวผู้มีเส้นรอบคอสีดำ ตัวเมียไม่มีเส้นรอบคอ





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในแอฟริกา ยูเรเซีย อินเดีย จีน ไต้หวัน พม่า ไทย เวียดนามตอนเหนือ และบริเวณอ่าวตังเกี๋ย

เป็ดพม่ากินพืชน้ำ และสัตว์ตามชายน้ำ หรือตามทุ่งหญ้าที่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำมากนักกินพืชน้ำ และสัตว์ตามชายน้ำ หรือตามทุ่งหญ้าที่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำมากนัก



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อาศัยอยู่ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ ทุ่งนาที่มีน้ำขังหรือแหล่งน้ำในที่ราบลุ่ม พบเป็นคู่หรือเป็นฝูง สามารถบินได้ดี ว่ายน้ำได้ดีมาก เวลาพักผ่อนจะยืนบนบกหรือบริเวณชายน้ำตื้น มักยืนนิ่งหรือหดคอสั้น เมื่อมีภัยหรือสิ่งรบกวนมันจะบินขึ้นหรือลงไปว่ายในน้ำ

เป็ดพม่าไม่มีการทำรังวางไข่ในประเทศไทย



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นนกอพยพมายังประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ หายากและปริมาณน้อยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางบางแห่ง จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์สงขลา











เป็ดมาลลาร์ด






Mallard

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Anas platyrhynchos



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

ตัวผู้บริเวณหัวและคอสีเขียวเข้ม มีแถบสีขาวรอบคอ อกสีน้ำตาลแกมน้ำตาลแดงเข้ม ลำตัวด้านบนสีเทาแกมน้ำตาลอ่อน ตะโพกและขนคลุมโคนขนหางด้านบนเป็นสีดำ ขนหางสีออกขาว ท้องมีสีจางกว่าลำตัวด้านบน ปากสีเหลืองแกมเขียว ขาสีส้ม ขาของตัวเมียเป็นลายสีน้ำตาล มีแถบคาดตาสีดำ ปีกมีแววขนปีกสีน้ำเงิน ปากสีออกน้ำตาลมักมีขอบสีเหลืองหรือสีส้ม ขนหางสีจางกว่าขนคลุมโคนขนหางด้านบน





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในทวีปอมเริกาเหนือ ยุโรป ตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย ในนิวซีแลนด์เป็นนกที่มีผู้นำเข้าไป

เป็ดมาลลาร์ดกินเมล็ดข้าวเปลือก ธัญพืช และสัตว์น้ำ เช่น หอย ปู ปลา กบ เขียด



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ โดยเฉพาะบึงและทะเลสาบ มักอยู่เป็นฝูงบางฝูงอาจประกอบด้วยนก 40-50 ตัว และอาจพบรวมฝูงกับนกเป็ดน้ำหลายชนิด ออกหากินเวลากลางคืน ส่วนกลางวันมักว่ายน้ำพักผ่อนบริเวณที่ค่อนข้างตื้น และอาจกินสัตว์น้ำในแหล่งที่อาศัยด้วย

ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ของเป็ดชนิดนี้ในประเทศไทย



สถานภาพปัจจุบัน





สถานที่ชม

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว


 
 
 
 
 
 
 




เป็ดแมนดาริน








Mandarin Duck

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Aix galericulata



--------------------------------------------------------------------------------



ลักษณะทั่วไป

เป็นนกขนาดกลาง มีความยาวลำตัวประมาณ 48 เซนติเมตร ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มีสีฉูดฉาดหลายสีซึ่งแต่ละสีตัดกันเห็นเด่นชัดสวยงามมาก และมีขนปีกสีส้มขนาดใหญ่ดูคล้ายเป็นแผงข้างละเส้นงามสะดุดตา เป็ดแมนดารินตัวผู้ขนจะสวยงามในฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ซึ่งเป็นฤดูหนาว เมื่อพ้นฤดูผสมพันธุ์แล้ว ตัวผู้จะผลัดขนจนดูคล้ายตัวเมีย





ถิ่นอาศัย, อาหาร

พบในจีน ญี่ปุ่น อินเดีย พม่า ไทย และไต้หวัน

เป็ดแมนดารินกิน แหน ลูกกุ้ง ปู ปลา กบ เขียด แมลง



พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

ชอบอยู่ตามหนองบึง ลำห้วยที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมเพื่ออาศัยเป็นที่หลบซ่อนตัว ชอบเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ อยู่เป็นฝูงเล็กๆ ตามแหล่งน้ำ สามารถบิน เดิน และว่ายน้ำได้ดี

เป็ดแมนดารินวางไข่ครั้งละ 9 - 12 ฟอง ไข่สีเนื้อเป็นมัน ระยะเวลาฟักไข่นาน 28-30 วัน



สถานภาพปัจจุบัน

เป็นนกอพยพมาประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ หายากและมีปริมาณน้อยมาก พบเฉพาะทางภาคเหนือ และภาคกลางบางแห่ง ตามกฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



สถานที่ชม

ป็นนกอพยพมาประเทศไทยช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ หายากและมีปริมาณน้อยมาก พบเฉพาะทางภาคเหนือ และภาคกลางบางแห่ง ตามกฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535










แหล่งอ้างอิง:http://www.moohin.com/animals

2 ความคิดเห็น:

  1. ช่างเป็นภาพที่สวยงาม!
    หากคุณต้องการดูรูปนกเพิ่มเติมฉันแชร์บล็อกของฉัน

    https://avesdecordobayargentina.blogspot.com

    ตอบลบ
  2. pg slot แนะนำ นับว่าเป็นเกมสล็อต pg slot ที่นักเสี่ยงโชคยืนยันว่าแตกดี แตกยับ ฟรีสปินออกรัวๆเล่นแล้วได้เงินจริง ได้เงินไว จากสถิติที่พวกเราได้ไปเก็บรวบรวมมาพบว่าอัตราการชนะอยู่ที่ 97.66 %

    ตอบลบ