วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พันธุ์กระต่าย



เนเธอร์แลนด์ดวอฟ Netherland Dwarf ในปี ค.ศ. 1948 หรือ พ.ศ. 2491 ถือได้ว่าเป็นยุคเริ่มต้น ของกระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟ เนื่องจากกระต่ายสายพันธุ์นี้ได้ถูกนำเข้าไปยังสหราชอาณาจักรอังกฤษ โดย นักพัฒนาสายพันธุ์กระต่าย และในปี ค.ศ. 1969 หรือ พ.ศ. 2512 กระต่ายสายพันธุ์นี้ ได้รับความนิยมใน สหรัฐ อเมริกา จนได้รับการยอมรับจากสมาคมนักพัฒนาพันธุ์กระต่ายแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ ARBA โดยมีการปรับปรุง ข้อกำหนด ของรายละเอียดมาตรฐานสายพันธุ์จาก ของสภากระต่ายแห่งสหราชอาณาจักรเพียงนิดหน่อยเท่านั้น


น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ในอุดมคติคือ 0.9 กิโลกรัม กระต่ายสายพันธุ์ เนเธอร์แลนด์ดวอฟเป็นกระต่ายที่จัดได้ว่า มีสีให้เลือก ได้มาก ที่สุดในบรรดากระต่ายสายพันธุ์ต่างๆ ทั้งหมดที่มี คือ สามารถแบ่งได้ เป็น 5 กลุ่มสี และมีสีหรือลักษณะสีย่อยๆ อีกกว่า 24 สี สีตาม มาตรฐานที่สมาคมพัฒนาพันธุ์ กระต่ายแห่ง สหรัฐอเมริกา หรือ ARBA กำหนดให้มีการประกวด ในกระต่ายสายพันธุ์ เนเธอร์แลนด์ ดวอฟ มีกลุ่มสีถึง 5 กลุ่มสี คือ กลุ่มสีพื้น (Self Varieties) กลุ่มสีเฉด (Shaded Varieties) กลุ่มสีขนอะกูติ (Agouti Varieties) กลุ่มแทน หรือกลุ่มมีสร้อย (Tan Varieties) กลุ่มสร้อยทอง (Otter) กลุ่มสร้อยเงิน (Silver Marten) กลุ่มสร้อยนาค (Tans)สี ทองแดงสร้อยเงิน (Sable Marten) สีเทาควันบุหรี่สร้อยเงิน (Smoke Pearl Marten)









อเมริกันฟัซซี่ลอป American Fuzzy Lop ต้นกำเนิดของอเมริกันฟัซซี่ลอป มาจากการ ผ่าเหล่า ของฮอลแลนด์ลอป หรืออีกกระแสหนึ่งเล่าว่า กระต่ายสายพันธุ์นี้เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ ระหว่าง ฮอลแลนด์ลอปที่ลักษณะขนเป็นแบบอังโกร่า ในกลุ่มนักพัฒนาสายพันธุ์กระต่าย ทางฝากตะวันตก ของ สหรัฐอเมริกา จากนั้นก็ถูกขายไปยังฝั่งตะวันออก ลูกที่เกิดมาก็ยังมีขนที่ยาวเหมือนอังโกร่า เมื่อผสมลูกเหล่านี้ รุ่นหลาน ก็ยังปรากฏเป็นกระต่ายหูตกขนยาวอยู่ตลอดมา


เป็นกระต่ายขนาดเล็ก (Compact Type) จัดอยู่ในกลุ่มกระต่ายแคระ มีลักษณะเด่นคือ มีหูตกสวยงามและมีขนที่ยาวสลวย ลักษณะ เด่นอื่นๆของสายพันธุ์กระต่ายหูตกอเมริกันฟัซซี่ลอป ก็คือ มีลำตัวสั้น กะทัดรัด หัวมีลักษณะกลม ขนาดใหญ่หนา และกว้างจากฐาน ของหูทั้งสองข้าง หูที่หนา และแบน หูยิ่งสั้นยิ่งถือว่ามีลักษณะที่ดี เพราะว่าเป็นการแสดงถึงลักษณะ ของกระต่ายแคระ หูจะต้องตก แนบข้างแก้ม หัวโตใหญ่ ต่อติดกับหัวไหล่เหมือนไม่มีคอ หัวและหูปกคลุมด้วยขนธรรมดา ที่ไม่ใช่ขนยาว ขนที่หน้า สามารถตัดแต่ง ได้ตามความเหมาะสมและสวยงาม ขาหลังมีขนธรรมดา ฝ่าเท้าหนาและหนัก สายพันธุ์ที่ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ เมื่อเติบโตเต็มที่ แล้ว น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ในอุดมคติคือ 1.6 กิโลกรัม (สำหรับตัวผู้) และ 1.7 กิโลกรัม (ในตัวเมีย) กระต่ายสายพันธุ์ อเมริกันฟัซซี่ลอป มีกลุ่มสีถึง 6 กลุ่มสี ได้แก่ กลุ่มสีพื้น (Self Group) กลุ่มสีขนอะกูติ (Agouti Group)กลุ่มสีเฉด (Shaded Group)กลุ่มสีขาวมีแปดแต้ม (Pointed White Group) กลุ่มขาวลายแต้มสีต่างๆ (Broken Group) กลุ่มสีอื่นๆ (Wide Band Group)

 
 
 
 
 
 
 



ฮอลแลนด์ ลอป Holland Lop เป็นการผสมพันธุ์กระต่ายเฟรนช์ลอป กับ กระต่ายเนเธอร์แลนด์ดวอฟ กระต่ายต้นแบบฮอลแลนด์ลอปได้ถือกำเนิดมาที่น้ำหนักประมาณ 2.5 ถึง 3 กิโลกรัม ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1964 หรือ พ.ศ. 2507 กระต่ายแคระหูตกฮอลแลนด์ ก็ได้รับการรับรอง มาตรฐานสายพันธุ์ จากสภากระต่าย แห่งประเทศ เนเธอร์แลนด์ ที่น้ำหนักตัวน้อยกว่าสองกิโลกรัม


กระต่ายสายพันธุ์ฮอลแลนด์ลอปจัดว่าเป็นกระต่ายกลุ่มหูตกที่มีขนาดเล็กที่สุด เพราะว่าเมื่อดูจากประวัติของสายพันธุ์ ก็มาจาก กระต่ายแคระเนเธอร์แลนด์ดวอฟ กระต่ายสายพันธุ์นี้ มีลักษณะเด่นที่หัวกลมโต แลดูน่ารักเหมือนตุ๊กตา มีน้ำหนักน้อยและลำตัวสั้น ซึ่งแตกต่างจากกระต่ายโดยทั่วไป จึงทำให้เป็นกระต่ายที่เป็นที่นิยมเลี้ยงกันในขณะนี้ กระต่ายฮอลแลนด์ลอป มีสีมากมาย หลาก หลายสี จนสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มสีต่างๆ ได้มากถึง 7 กลุ่มสี ได้แก่ กลุ่มอะกูติ (Agouti) กลุ่มสีขาวแต้ม (Broken)กลุ่มสีขาว มีมาร์กกิ้งแปดแต้ม (Pointed White) กลุ่มสีพื้น (Self) กลุ่มสีเฉด (Shaded) กลุ่มสีพิเศษ (Ticked) และกลุ่มสีอื่นๆ (Wide Band)

 
 
 
 
 
วิธีการเลี้ยงกระต่าย วิธีการเลี้ยงกระต่ายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับการเลี้ยงและพัฒนาพันธุ์กระต่าย ถ้าเราอยากให้ กระต่ายของเราสมบูรณ์ แข็งแรง น่ารัก เราก็ต้องมาทำความเข้าใจกับธรรมชาติของกระต่ายเสียก่อน ว่าเค้าชอบอะไรไม่ชอบอะไร อะไรทานได้ อะไรทานไม่ได้ เราถึงจะได้ดูแลเค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อาหารสำเร็จรูป หญ้า ผัก ผลไม้และน้ำ รวมถึงวิธีการให้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เลี้ยงจะต้องรู้เป็นอย่างดี ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้กระต่ายมีความสุขและมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ น้ำเป็นโภชนาการ ที่สำคัญที่สุด น้ำที่สะอาด และเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เลี้ยงจะละเลยไม่ได้ จึงแนะนำว่าควรเปลี่ยนน้ำเช้า-เย็น นอกจากนี้ อาทิตย์หนึ่งๆ ควรมีสักวันหยดวิตามินรวม น้ำสีแดงๆ ให้กระต่ายสัก 2-3 หยด ต่อน้ำครึ่งลิตร เพื่อให้กระต่ายได้รับ วิตามิน บางตัว ที่ไม่มีในอาหาร เช่นวิตามินบี ซีและเค การผสมวิตามินลงในน้ำ สามารถช่วยลดอาการเครียด และเป็นผลดีต่อกระต่ายแม่พันธุ์ ที่ผสม ติดต่อกัน หลายครอก น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระต่ายและโดยเฉพาะในกระต่ายขน น้ำจะช่วยให้ขนกระต่าย มีคุณภาพ ที่ดี จำไว้ว่าลิ้นของกระต่ายค่อนข้างไวต่อรสชาติของน้ำที่เปลี่ยนไป และในบางครั้งเค้าอาจจะไม่ยอมดื่มน้ำที่แปลกกว่าที่เคยทาน แม้ว่าจะเป็นช่วงระยะเวลาอันสั้น ที่กระต่ายขาดหรือไม่ยอมทานน้ำ แต่สิ่งนี้อาจจะส่งผลให้เกิด เมตาโบลิซึมของการสร้างขน ที่เปลี่ยน แปลงไป ซึ่งอาจจะทำให้ขนกระต่ายพันกันได้ อาหารเม็ดสำเร็จรูปที่มีสารอาหารครบถ้วนและสัดส่วนพอเหมาะ เป็นสิ่งจำเป็นต่อ การเจริญเติบโตและสุขภาพของกระต่าย กระต่ายทั่วไปมีความต้องการโปรตีน 14-17 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2-4 เปอร์เซ็นต์ และไฟเบอร์ อย่างน้อย 16 เปอร์เซ็นต์ โดยทั่วไปอาหารเม็ดสำเร็จรูปตามท้องตลาดมักจะมีอัตราส่วนอย่างพอเหมาะอยู่แล้ว และยังมีสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นเช่น วิตามินและเกลือแร่ แต่ผู้เลี้ยงสามารถผสมหรือให้ผักผลไม้อื่นๆเพิ่มเติมอีกได้ โดยสามารถให้อาหารกระต่ายทุก 12 ชั่วโมง แต่เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ฉะนั้นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการให้อาหารคือในช่วงเช้าตรู่และตอนหัวค่ำ กระต่ายเล็กอายุน้อยกว่า 3 เดือนควรจะได้รับอาหารเม็ดอย่างพอเพียง อาหารเม็ดใหม่ๆและเปลี่ยนทุกวัน เช้าเย็น ควรจะมีไว้ตลอด อย่าให้ขาด เมื่อกระต่ายอายุมากขึ้น การจำกัดอาหารตามปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะปัญหาหลักของการ ให้อาหาร กระต่ายก็คือการให้อาหารมากเกินไป ถ้าเราให้อาหารเค้ามากเกินไป กระต่ายจะอ้วนและไม่แข็งแรง ซึ่งจะส่งผลโดยตรง กับการผสมพันธุ์ติดยาก เพราะฉะนั้น แม้ว่ากระต่ายจะทานอาหารทั้งหมดที่ท่านให้ แต่ก็ต้องจำกัดอาหารอย่างเคร่งครัด สูตรง่ายๆ ของการให้อาหารเม็ด คือ ให้อาหาร 50 กรัมต่อน้ำหนักกระต่าย 1 กิโลกรัม ต่อวัน สำหรับผักที่เหมาะสำหรับกระต่าย มีหลายอย่างเช่น ใบกะเพรา (ป้องกันกระต่ายท้องอืด) ผักกาดหอม ถัวฝักยาว และผักบุ้งไทย ส่วนผักบุ้งจีนไม่สมควรให้เพราะว่ามียางเยอะ ซึ่งอาจจะ ทำให้ กระต่ายท้องเสียได้ มีข้อสังเกตง่ายๆ ผักสีเขียวเข้มทานได้ ผักสีเขียวอ่อนควรหลีกเลี่ยง อาหารเสริม เช่น ข้าวโอ๊ต เมล็ดทานตะวัน (ช่วยบำรุงขน) โดยเฉพาะข้าวเปลือก ซึ่งมีวิตามินบี เพื่อช่วยให้พ่อพันธุ์สมบูรณ์พันธุ์ก่อนผสม


โรคต่างๆของกระต่าย

โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากโรค ต่างๆ ที่ผู้เลี้ยงนั้น ขาดความรู้และ ประสบการณ์ อาจจะไม่ได้ศึกษาถึงปัญหาต่างๆ สำหรับ การเลี้ยง กระต่ายมา โดยผู้เลี้ยง ทุกๆท่านควรที่จะ รู้ ถึงโรคต่างๆ หรือ สาเหตุต่างๆที่ทำใ้ห้เกิดโรค ทั้งนี้เพื่อป้องกัน และ ลดปัญหา การตาย ของกระต่ายได้ โรคของกระต่ายนั้นมีสาเหตุการเกิดที่หลายอย่าง อาจจะเกิดจาก เชื่อต่างๆเช่น เชื่้อไวรัส แบคทีเรีย เิกิดจากเชื้อรา เกิดจากตัวปรสิต หรือแม้กระทั้งที่เกิดจาก การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทางกรรมพันธุ์

การสังเกต ดูว่ากระต่ายเรานั้นเป็นโรคหรือไม่

ผู้เลี้ยงควรที่จะรู้จักกระต่าย ทั้ง ลักษณะร่างกาย ลักษณะ ทางธรรมชาติ โดยปกติ ของเขา เพราะเมื่อไหร่ที่ เขามีความผิดปกติ ไม่ว่า จะเป็น ทางร่างกายด้านภายนอก ร่างกาย หรือ ทางด้านภายใน ทั้งนี้ก็เพื่อที่เรา จะสามารถหาทางแก้ไขป้องกัน หรือ รักษาได้ทัน โดยปกติ กระต่ายที่มีสุขภาพที่ดีจะต้องอ้วนและมีเนื้อเต็มทุกส่วน ไม่มีแผล เม็ด หรือ ตุ่ม เกิดขึ้นบริเวณร่างกาย ขนต้องฟูตามธรรมชาติ หรือ ไม่หลุดเป็นก้อนๆ หย่อมๆ ซึ่งกระต่ายอาจจะมีขนหลุดร่วงบ้าง สำหรับการผลัด ขนของกระต่าย แต่ไม่ควรที่จะร่วงมากจนผิดปกติ ดวงตา ของกระต่ายนั้นจะต้องสดใส ร่าเริง น้ำหนักตัวต้องไม่ลด เพราะว่ากระต่ายที่ เป็นโรค มักจะมีน้ำหนักตัวที่ลดลงเรื่อยๆ และ ผอมลงเรื่อยๆ และ เบื่ออาหาร เป็นหนอง หรือ มีน้ำมูกที่บริเวณจมูก






แหล่งอ้างอิง:http://www.ecarddesignanimation.com/home/rabbit.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น